Effects of Program Nine-Square Aerobic and Step Aerobics...

13
รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 911 ผลของโปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และแบบสเต็ปแอโรบิกที่มีต่อสมรรถภาพ ทางกลไก และเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ของนักศึกษาชั้นปีท่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตลาปาง Effects of Program Nine-Square Aerobic and Step Aerobics on Motor Fitness and Percent of Body Fat of First-year student at the Faculty of Education the Institute of Physical Education Lampang Campus สุชารัตน์ วงศ์ษา 1* สุดยอด ชมสะห้าย 2 และ ศิริพร สัตยานุรักษ์ 3 Sucharat Wongsa 1* , Sudyod Chomsahai 2 and Siriporn Suttayanurak 3 สังกัดนักศึกษาปริญญาโทสาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่ 2 สังกัดรองศาสตราจารย์ ประจาหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่ 3 สังกัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประจาหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่ * Corresponding author. E-mail: [email protected] บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และ แบบสเต็ปแอโรบิกที่มีต่อสมรรถภาพทางกลไกและเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของนักศึกษา ชั้นที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์สถาบัน การพลศึกษา วิทยาเขตลาปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี เพศชาย ชั้นปีท1 ที่ลงทะเบียน เรียนวิชากิจกรรมการเคลื่อนไหวเบื้องต้น ปีการศึกษา 2559 อายุระหว่าง 18 –20 ปี จานวน 70 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่าง ออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 35 คน แยกเป็นกลุ่มทดลองที1 ฝึกโปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง กลุ่มทดลองที2 ฝึก โปรแกรมการเต้นแบบสเต็ปแอโรบิก โดยทาการฝึกออกกาลังกายวันละ 40 นาที จานวน 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ และทาการทดสอบสมรรถภาพทางกลไกก่อนการฝึก และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 นาผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภายในกลุ่ม ด้วยสถิติ T-Test และ เปรียบเทียบผลทั้งก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 โดยการ ทดสอบ t – test (Two Independent Sample Test) กาหนดความมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการฝึก 8 สัปดาห์ กลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิกสามารถพัฒนาสมรรถภาพทาง กลไก ด้านความอ่อนตัวเพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.61 เซนติเมตร วิ่งเก็บของ (วินาที) ใช้เวลาได้ดีขึ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.90 วินาที วิ่ง 1800 ม. (นาที) ทาสถิติมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.66 นาที ลุก นั่ง มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เท่ากับ 33.33 ครั้ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติทีระดับ .05และเมื่อทาการเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกลไกระหว่างกลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่องและกลุ่มที่เต้น แบบสเต็ปแอโรบิกหลังการฝึก 8 สัปดาห์พบว่าสมรรถภาพทางกลไกทั้ง 2 กลุ่มดีขึ้นทุกรายการที่ทาการทดสอบและเปอร์เซ็นต์ ไขมันลดลงอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นสมรรถภาพทางกลไกลด้านความแข็งแรงมือ ความแข็งแรงขาและ กระโดดไกล ของทั้ง 2 กลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเต้น แอโรบิกแบบ ตาราง 9 ช่อง และแบบสเต็ปแอโรบิก เป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนาสมรรถภาพทางกลไกและเปอร์เซ็นต์ไขมันได้อย่างดี เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวเน้นในการใช้กล้ามเนื้อ พลังมัดกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อและข้อต่อ จากผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิกมีพัฒนาการด้านสมรรถภาพทางกลไกทีดีขึ้นและมีเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายที่ลดลงได้ดีกว่ากลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง เนื่องจากท่าทางการเต้นแบบ

Transcript of Effects of Program Nine-Square Aerobic and Step Aerobics...

Page 1: Effects of Program Nine-Square Aerobic and Step Aerobics ...gnru2017.psru.ac.th/proceeding/532-25600830101612.pdf · Fitness of hand strength and the percentage of fat was decreasing

รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17

911

ผลของโปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และแบบสเต็ปแอโรบกิที่มีต่อสมรรถภาพทางกลไก และเปอร์เซ็นตไ์ขมันในร่างกาย ของนักศึกษาช้ันปีที่ 1

คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตล าปาง Effects of Program Nine-Square Aerobic and Step Aerobics on Motor Fitness

and Percent of Body Fat of First-year student at the Faculty of Education the Institute of Physical Education Lampang Campus

สุชารัตน์ วงศ์ษา1* สุดยอด ชมสะห้าย2 และ ศิริพร สัตยานุรักษ์3 Sucharat Wongsa1*, Sudyod Chomsahai2 and Siriporn Suttayanurak3

สังกัดนักศึกษาปริญญาโทสาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่ 2สังกัดรองศาสตราจารย์ ประจ าหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่ 3สังกัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประจ าหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตคณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่ *Corresponding author. E-mail: [email protected]

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และ

แบบสเต็ปแอโรบิกท่ีมีต่อสมรรถภาพทางกลไกและเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของนักศึกษา ช้ันท่ี 1 คณะศึกษาศาสตร์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตล าปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี เพศชาย ช้ันปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชากิจกรรมการเคลื่อนไหวเบื้องต้น ปีการศึกษา 2559 อายุระหว่าง 18 –20 ปี จ านวน 70 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 35 คน แยกเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกโปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง กลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกโปรแกรมการเต้นแบบสเต็ปแอโรบิก โดยท าการฝึกออกก าลังกายวันละ 40 นาที จ านวน 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ และท าการทดสอบสมรรถภาพทางกลไกก่อนการฝึก และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 น าผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภายในกลุม่ ด้วยสถิติ T-Test และ เปรียบเทียบผลทั้งก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 โดยการทดสอบ t – test (Two Independent Sample Test) ก าหนดความมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัยพบว่า หลังการฝึก 8 สัปดาห์ กลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิกสามารถพัฒนาสมรรถภาพทางกลไก ด้านความอ่อนตัวเพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.61 เซนติเมตร วิ่งเก็บของ (วินาที) ใช้เวลาได้ดีขึ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.90 วินาที วิ่ง 1800 ม. (นาที) ท าสถิติมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.66 นาที ลุก – นั่ง มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เท่ากับ 33.33 ครั้ง แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05และเมื่อท าการเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกลไกระหว่างกลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่องและกลุ่มที่เต้นแบบสเต็ปแอโรบิกหลังการฝกึ 8 สัปดาห์พบว่าสมรรถภาพทางกลไกท้ัง 2 กลุ่มดีขึ้นทุกรายการที่ท าการทดสอบและเปอร์เซ็นต์ไขมันลดลงอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นสมรรถภาพทางกลไกลด้านความแข็งแรงมือ ความแข็งแรงขาและกระโดดไกล ของทั้ง 2 กลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเต้น แอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และแบบสเต็ปแอโรบิก เป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนาสมรรถภาพทางกลไกและเปอร์เซ็นต์ไขมันได้อย่างดี เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวเน้นในการใช้กล้ามเนื้อ พลังมัดกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อและข้อต่อ

จากผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เหน็ว่ากลุ่มที่ฝึกเตน้แอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิกมีพัฒนาการด้านสมรรถภาพทางกลไกท่ีดีขึ้นและมีเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายที่ลดลงได้ดีกว่ากลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง เนื่องจากท่าทางการเต้นแบบ

Page 2: Effects of Program Nine-Square Aerobic and Step Aerobics ...gnru2017.psru.ac.th/proceeding/532-25600830101612.pdf · Fitness of hand strength and the percentage of fat was decreasing

รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17

912

ต่างๆ เช่น พับแขน กางแขน ยกแขน เหยียดแขน และมีการฝึกที่พอเหมาะท าให้ร่างกายเกิดการปรับตัวจึงจะท าให้เกิดการพัฒนาการด้านสมรรถภาพทางกลไกได้เป็นอย่างดี ค าส าคัญ: ตาราง 9 ช่อง, สเต็ปแอโรบิก, สมรรถภาพทางกลไก, เปอร์เซ็นต์ไขมัน

Abstract This study aimed to study and compare the effect of Program Nine-Square Aerobic and Step

Aerobics on Motor Fitness and the percentage of fat of first-year student at the Faculty of Education, the Institute of Physical Education, Lampang Campus. The sample group of this study was 70 male Bachelor Degree students who were first-years students registering in Fundamental Movement Activity course of the academic year of 2016 aged 18-20. The sample group was divided into 2 groups including 35 students per each group.The 1st group was set to practice Program Nine-Square Aerobic and the 2nd group was set to practice Step Aerobics. They practiced for 40 minutes a day, 3 days a week and overall for 8 weeks. They also did Motor Fitness Test before practicing and after 8 weeks of practicing.The data was analyzed by comparing average in the group by using T-Test Statistic and comparing the result both before practicing and after 8 weeks practicing by using T-Test with statistical significance at .05.

The findings were that after 8 weeks practicing the Step Aerobic group to improve motor fitness in term of increasing flexibility with average at18.61 cm., doing shuttle run (second) with better time with average as10.90secondand running 1,800 m. (minute)with average as24.66 minute. It was also found that the groupcould do Sit-up with increasing average as33.33times with statistical significance at.05 and the percentage of fat in the body had statistical significance at.05. Besides, when comparing Motor Fitness between the Program Nine-Square Aerobic group and the Step Aerobic group after practicing 8 weeks, it was found that the Motor Fitness of both groups was increasing in every test item except the Motor Fitness of hand strength and the percentage of fat was decreasing with statistical significance at .05. Also, it was found that the leg strength and long jumping of both groups had statistical significance at .05. It was shown that the Program Nine-Square Aerobic and the Step Aerobic were the activities improving the Motor Fitness and the percentage of fat very well as the activities had the movement using muscle, muscle band, tissue and joints.

According to the findings from this study, it was found that Step Aerobic group had better improvement of Motor Fitness and decreasing percentage of fat more than the Program Nine-Square group as there were many dance steps including folding arms, extending arms, raising arms and stretch arms and there were appropriate practices leading the body to flexibility and better improvement of Motor Fitness.

Keywords: Nine-Square, Step Aerobic, Motor Fitness, Percent of fat

Page 3: Effects of Program Nine-Square Aerobic and Step Aerobics ...gnru2017.psru.ac.th/proceeding/532-25600830101612.pdf · Fitness of hand strength and the percentage of fat was decreasing

รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17

913

บทน า

การส่งเสริมสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตที่ดีต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ มากมาย และปัจจัยหนึ่งที่ส าคัญ คือการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนออกก าลังกายสม่ าเสมอและตอ่เนื่อง ในการออกก าลังกายและเล่นกีฬานั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา และสร้างความสามัคคี ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ซึ่ง บรรเทิง เกิดปรางค์ (2541) ได้กล่าวว่า การออกก าลังกายนับได้ว่าเป็นวิธีการทางธรรมชาติอย่างหนึ่งที่มีผลให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายมีการเจริญเติบโต แข็งแรงสมบูรณ์ตลอดจนสามารถช่วยชะลอการเสื่อมโทรมต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ ดังนั้นกิจกรรมการออกก าลังกายจึงเป็นกิจกรรมที่ช่วย ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายให้มีความพร้อมมีประสิทธิภาพต่อการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ในการด ารงชีวิต โดยเฉพาะสมรรถภาพทางกลไก หรือ (Motor Fitness) วัฒนี แสนทนิล (2547) กล่าวว่า สมรรถภาพทางกลไก หมายถึง ผลของการกระท าหรือแสดงออกถึงการท างานของระบบกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ ข้อต่อ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบประสาท ระบบหายใจ และอื่นๆ ที่ท าให้เกิดความแข็งแรง ความคล่องแคล่วว่องไว ก าลัง และความอดทน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับ พิชิต ภูติจันทร์ (2547) กล่าวว่า สมรรถภาพทางกลไก หมายถึง ขีดจ ากัดของสมรรถภาพทางกลไกโดยเน้นถึงความสามารถในการท างานที่หนัก มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ความอดทน พลัง ความแข็งแรง ความคล่องแคล่วว่องไว ความยืดหยุ่นตัว และการทรงตัว ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวจะต้องน ามาใช้ในการปฏิบัติทักษะเบื้องต้น ได้แก่ การเดิน การวิ่ง การกระโดด การล้ม การหลบหลีก การกลับตัว การปีนป่าย ห้อยโหนและการแบกหาม เป็นต้น การเต้นแอโรบิกเป็นการออกก าลังกายท่ีก าลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะได้ประยุกต์กิจกรรมเข้าจังหวะมาผสมผสานกับเสียงดนตรีเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนานกับการออกก าลังกาย (นภดล มณีล้ า, 2542) และ และ กรมพลศึกษา (2555) ได้กล่าวว่า การออกก าลังกายแบบแอโรบิกช่วยให้การเคลื่อนไหวของร่างกายที่กระท าอย่างต่อเนื่องโดยใช้เวลานานพอที่ร่างกายต้องใช้พลังงานจากออกซิเจนที่หายใจเข้าไปเพื่อให้เกิดกระบวนการสร้างพลังงานใ นกล้ามเนื้อ สอดคล้องกับ จันทา พลเยี่ยม (2555) กล่าวว่า การออกก าลังกายแบบแอโรบิกเป็นการออกก าลังกายแบบผสมผสานเพื่อให้ร่างกายได้พัฒนาสมรรถภาพด้านสุขภาพท่ีจะส่งผลต่อความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ (Cardio respiratory Endurance) ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscular Strength and Endurance) โครงสร้างและส่วนประกอบของร่างกาย(Body Structure and Composition) เป็นต้น ซึ่งการออกก าลังกายแบบสเต็ปแอโรบิกเป็นการออกก าลังกายอีกประเภทหนึ่งในลักษณะเช่นเดียวกับการเต้นแอโรบิก ที่นิยมกันมากทั่วโลกโดยเฉพาะในเมืองไทยก าลังเป็นที่นิยมกันมาก จะเห็นได้ว่าศูนย์ฟิตเนตเซ็นเตอร์ (Fitness Center) และโรงแรมที่มีระดับ และศูนย์ออกก าลังกายแทบทุกแห่งได้มีการเปิดให้บริการการเต้นสเต็ปแอโรบิกเนื่องจากเป็นรูปแบบของการเต้นที่ง่าย และไม่มีความรุนแรง คือเป็นการก้าวข้ึนลงบนแท่นหรือ platform ตามจังหวะเพลงให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินแถมยังมีประโยชน์กับกล้ามเนื้อขา ท าให้ร่างกายหัวใจแข็งแรงและยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ดังที่ งานศูนย์ฝึกและบริหารกาย (2534) ได้ให้ความหมายของการออกก าลังกายแบบการเต้นสเต็ปแอโรบิกว่าเป็นการออกก าลังกายประกอบจังหวะดนตรีคล้ายกับการเต้นแอโรบิกโดยที่การเต้นสเต็ปแอโรบิกนั้นจะเป็นรูปแบบของการก้าวขึ้นลงบนสเต็ปบ็อกหรือกล่องก้าวขึ้นลง (platform) ที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างประมาณ 16 นิ้ว ความยาวประมาณ 43 นิ้ว และความสูง 4 ถึง 12 นิ้ว ซึ่งความสูงของสเต็ปบ็อกหรือกล่องก้าวขึ้นลง (platform) สามารถปรับเพิ่ม-ลดได้ โดยการเพิ่มสเต็ปบ็อกหรือกล่องก้าวขึ้นลง (platform) เป็นฐานรองรับในแต่ละระดับจะเพิ่มทีละ 2 นิ้ว และในขณะที่มีการก้าวข้ึน-ลง ก็จะมีการเคลื่อนไหวของแขน ไหล่ อก และล าตัวส่วนบนประกอบด้วยโดยให้กลมกลืนไปกับการเคลื่อนไหวของร่างกายในขณะเต้น รูปแบบของการเต้น สเต็ปแอโรบิก จะเป็นไปตามธรรมชาติไม่เร่งเร้ารุนแรง จึงไม่ท าให้เกิดการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ และส่วนต่างๆ ของร่างกาย นอกจากนี้การออกก าลังกายด้วยตาราง 9 ช่อง ก็สามารถใช้ฝึกการท างานร่วมกันระหว่างระบบประสาทและกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี เป็นการฝึกให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหวที่เร็วๆ ซ้ าๆ ซึ่ง เจริญ กระบวนทัศน์ (2548) กล่าวว่า การฝึกด้วยตาราง 9 ช่อง จะสามารถพัฒนาปฏิสัมพันธ์ในการเรียนรู้ และการรับรู้สั่งงานของสมอง ช่วยประสานความสัมพันธ์

Page 4: Effects of Program Nine-Square Aerobic and Step Aerobics ...gnru2017.psru.ac.th/proceeding/532-25600830101612.pdf · Fitness of hand strength and the percentage of fat was decreasing

รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17

914

ระหว่างระบบประสาทกล้ามเนื้อเพื่อกระตุ้นและพัฒนาปฏิกิริยาความเร็วในการปฏิบัติทักษะการเคลื่อนไหว ความรวดเร็วในการคิดและการตัดสินใจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นการพัฒนาสมองซีกซ้ายซีกขวาควบคู่กันไป ด้วยการอาศัยรูปแบบการเคลื่อนไหวท่ีเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของมนุษย์เป็นหลัก จากรูปแบบและประโยชน์ของการเตน้แอโรบิกผูว้ิจัยจึงสนใจศึกษาเปรยีบเทียบผลของการเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และแบบสเต็ปแอโรบิก ที่มีต่อสมรรถภาพทางกลไกและเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของนักศึกษา ช้ันที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตล าปาง ซึ่งเป็นการเต้นแอโรบิกรูปอีกรูปแบบหนึ่งที่ท าให้เกิดความหลากหลาย ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวทุกส่วนของร่างกาย การทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความคล่องแคล่วว่องไว เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายและสมรรถภาพทางกลไกทีดีของนักศึกษา มีความส าคัญต่อการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายที่ได้สัดส่วน เป็นการส่งเสริมสมรรถภาพทางกลไกของนักศึกษาให้มีความสมบูรณ์ และเพื่อเป็นส่วนช่วยสนับสนุนการเลือกรูปแบบการออกก าลังกายได้อย่างเหมาะสม เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และแบบสเต็ปแอโรบิก ที่มีต่อสมรรถภาพทาง

กลไก และเปอร์เซ็นไขมันในร่างกายของนักศึกษา ช้ันปีท่ี 1 คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตล าปาง 2. เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และแบบสเต็ปแอโรบิก ที่มีต่อสมรรถภาพ

ทางกลไก และเปอร์เซ็นไขมันในร่างกายของนักศึกษา ช้ันปีท่ี 1 คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตล าปาง

วิธีด าเนินการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ศึกษาผลของโปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และแบบสเต็ปแอโรบิก ที่มีต่อสมรรถภาพทางกลไกและเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของนักศึกษาช้ันปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตล าปาง

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักศึกษาปริญญาตรี เพศชาย ช้ันปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา

ทักษะการเคลื่อนไหวเบื้องต้น สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตล าปาง ปีการศึกษา 2559 จ านวน 110 คน กลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จ านวน 70 คน โดยมีคุณสมบัติในการคัดเลือกดังนี้

1. เป็นนักศึกษาเพศชาย อายุระหว่าง 18 – 20 ปี 2. ไม่เป็นตัวแทนนักกีฬาของสถาบันประเภทใดประเภทหนึ่ง 3. ไม่เคยผ่านการเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และแบบสเต็ปแอโรบิกมาก่อน

และก าหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรมส าเร็จรูป G*power version 3.1.2 โดยก าหนดระดับ ความเชื่อมั่นที่ 0.05 อ านาจการทดสอบ (power of test) เท่ากับ 0.95 ขนาดอิทธิพลค่าความแตกต่าง (effect size) เท่ากับ 0.8 ซึ่งเป็นขนาดอิทธิพลในระดับสูง ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจ านวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 35 คน

1.2 หลักในการแบ่งกลุ่มตัวอยา่งออกเป็นกลุ่มฝึกโปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และกลุ่มฝึกโปรแกรมแบบสเตป็แอโรบิกโดยวิธีการดังนี้

1.2.1 น ากลุ่มตัวอย่างมาทดสอบสมรรถภาพทางกลไก แบบทดสอบ 8 รายการประกอบด้วย (นพวรรณ ระลึกมูล, 2546)

1) วัดความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิต (Cardiovascular Endurance) ใช้แบบทดสอบ ว่ิง 1 ไมล์ 2) วัดความอ่อนตัว (Flexibility) ใช้แบบทดสอบ น่ังงอตัวไปข้างหนา (Sit and Reach Test)

Page 5: Effects of Program Nine-Square Aerobic and Step Aerobics ...gnru2017.psru.ac.th/proceeding/532-25600830101612.pdf · Fitness of hand strength and the percentage of fat was decreasing

รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17

915

3) วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและหลัง ใช้เครื่องมือ Leg and Back Dynamometer 4) วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือด้วยเครื่องมือ Hand-Grip Dynamomete 5) วัดความคล่องแคล่วว่องไว (Agility) ใช้แบบทดสอบ (Right Boomerang Run) 6) วัดพลังกล้ามเนื้อ (Power) ใช้แบบทดสอบ ยืนกระโดดไกล (Standing Long Jump) 7) วัดความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance) ใช้แบบทดสอบความอดทนของกล้ามเนื้อหน้าท้อง โดยการลุก-นั่ง (Modified Sit-Ups) 8) วัดความหนาของไขมันใตผ้ิวหนัง (Skinfold Thickness) บริเวณต าแหน่งท่ีวัดต้นแขนด้านหนา้ (Biceps) ต้นแขนด้านหลัง (Triceps) สะบักหลัง (supscapular) และบรเิวณเหนือกระดูกสะโพก (Suprailiac) 1.2.2 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากการน าคะแนนการทดสอบสมรรถภาพทางกลไก 8 รายการ และเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของแต่ละบุคคลคนมาเรียงล าดับ และจัดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการจับคู่ (Matched group) ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 35 คน ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ และแบ่งกลุ่มตัวอย่างได้ดังนี้

กลุ่มทดลองที่ 1 คือ กลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง จ านวน 35 คน กลุ่มทดลองที่ 2 คือ กลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก จ านวน 35 คน

2. ตัวแปรที่ศึกษา 2.1 ตัวแปรอิสระ คือ 2.1.1 โปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง 2.2.2 โปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก 2.2 ตัวแปรตาม คือ สมรรถภาพทางกลไก และเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย

3. เคร่ืองมือท่ีใช้ในการวิจัย

3.1 โปรแกรมการฝึก ได้แก่ โปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และโปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก โดยมีขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ ดังนี้ 3.1.1 ผู้วิจัยท าการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ต ารา และปรึกษาผู้เช่ียวชาญในการออกแบบและสร้างโปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และโปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก 3.1.2 น าเครื่องมือโปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และโปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก ที่ได้สร้างขึ้น ให้ผู้เชี่ยวชาญจ านวน 3 ท่าน ตรวจสอบ ปรับปรุง และแก้ไข ตามค าแนะน า 3.1.3 แก้ไข ปรับปรุง เครื่องมือตามค าแนะน าของผู้เช่ียวชาญ ตรวจสอบความถูกต้อง และน าไปทดลองใช้ (Try out) กับนักศึกษา ท่ีไม่ใช้กลุ่มตัวอย่าง จ านวน 20 คน กลุ่มละ 10 คน เพื่อหาข้อบกพร่อง และปรับปรุง แก้ไข 3.1.4 น าโปรแกรมโปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และโปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก ที่ได้ปรับปรุงแก้ไข และผ่านกระบวนการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ น าไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยจริงในครั้งนี ้

การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. แบ่งกลุ่มตัวอย่าง จ านวน 70 คนโดยวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) และท าการจัด

กลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการจับคู่ (Matched group) เป็น 2 กลุ่ม จากการทดสอบสมรรถภาพทางกลไก 8 ราย และเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และน าคะแนนของแต่ละบุคคลมาจัดเรียงล าดับ เพ่ือก าหนดให้ความสามารถเริ่มต้น ของกลุ่มตัวอย่างเท่ากัน (จับคู่) แล้วสุ่มเข้าโปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และโปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก จ านวนกลุ่มละ 35 คน

Page 6: Effects of Program Nine-Square Aerobic and Step Aerobics ...gnru2017.psru.ac.th/proceeding/532-25600830101612.pdf · Fitness of hand strength and the percentage of fat was decreasing

รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17

916

2. ผู้วิจัยแนะน าตนเอง ท าความรู้จักกับกลุ่มตัวอย่าง ช้ีแจงวัตถุประสงค์ ขั้นตอนการวิจัย ระยะเวลาการด าเนินการวิจัย สิทธิประโยชน์ของผู้เข้าร่วมวิจัย เช่น สิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเป็นความลับสิทธิในการตอบรับหรือปฏิเสธการเข้าร่วมวิจัย โดยผู้เข้าร่วมวิจัยสามารถตัดสินใจในการเข้าร่วมได้อย่างอิสระเมื่อกลุ่มตัวอย่างยินยอมเข้าร่วมการวิจัย ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างลงช่ือในใบยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัย (Consent Form)

3. ให้กลุ่มตัวอย่างกรอกแบบฟอร์มประวัติสุขภาพท่ัวไป 4. กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม จะได้รับการทดสอบก่อนการฝึก (Pre-test) ในการทดสอบโดยให้กลุ่มผู้ทดลองท าการ

อบอุ่นร่างกายประมาณ 5 นาที และยืดเหยียดกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ โดยทั่วไปก่อนการทดสอบ เรียงตามล าดับขั้นตอนการทดสอบ ดังนี้

4.1 วัดความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิต (Cardiovascular Endurance) ใช้แบบทดสอบ ว่ิง 1 ไมล์ 4.2 วัดความอ่อนตัว (Flexibility) ใช้แบบทดสอบ น่ังงอตัวไปข้างหนา (Sit and Reach Test) 4.3 วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและหลัง ใช้เครื่องมือ Leg and Back Dynamometer 4.4 วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือด้วยเครืองมือ Hand-Grip Dynamomete 4.5 วัดความคล่องแคล่วว่องไว (Agility) ใช้แบบทดสอบ (Right Boomerang Run) 4.6 วัดพลังกล้ามเนื้อ (Power) ใช้แบบทดสอบ ยืนกระโดดไกล (Standing Long Jump) 4.7 วัดความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance) ใช้แบบทดสอบความอดทนของกล้ามเนื้อหน้าท้อง โดยการลุก-นั่ง (Modified Sit-Ups) 4.8 วัดความหนาของไขมันใต้ผิวหนัง บริเวณต าแหน่งที่วัดต้นแขนดา้นหน้า (Biceps) ต้นแขนด้านหลงั (Triceps) สะบักหลัง (supscapular) และบรเิวณเหนือกระดูกสะโพก (Suprailiac)

5. วัดอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักของผู้รับการทดลอง เพื่อน ามาก าหนดความหนักของงานในการเต้น 6. เริ่มท าการฝึกตามโปรแกรมการเต้นแอโรบิก โดยกลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และ กลุ่ม

ทดลองที่ 2 ฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก โดยกลุ่มทดลองทั่งสองกลุ่มท าการฝึกสัปดาห์ละ 3 วัน (วันจันทร์ พุธ และศุกร์ ) จ านวน 8 สัปดาห์ วันละ 40 นาที เวลา 17.00 – 18.00 น. โดยแบ่งเป็นช่วงการอบอุ่นร่างกาย 10 นาที ช่วงแอโรบิก 20 นาทีและช่วงปรับสภาพการท างานของร่างกายให้เข้าสู่ภาวะปกติและยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 10 นาที ณ ห้องเรียนแอโรบิก สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตล าปาง ซึ่งการเต้นแอโรบิกจะมีผู้น าเต้นทั้ง 2 กลุ่ม โดยก าหนดความหนักของงานระดับปานกลาง คือ 60 – 80 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด ดังนี้

สัปดาห์ที่ 1-3 ความหนักของงานท่ี 60 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด สัปดาห์ที่ 4-5 ความหนักของงานท่ี 60 - 70 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด สัปดาห์ที่ 6-8 ความหนักของงานท่ี 70 - 80 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด

7. ท าการทดสอบสมรรถภาพทางกลไกของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ด้วยแบบทดสอบเดียวกันกับแบบทดสอบก่อนการทดลอง (Pre-test) เหมือนกันทุกครั้ง

การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ 1. วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานท่ัวไปของกลุ่มตัวอย่าง ด้านอายุ น้ าหนัก ส่วนสูง โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย

(x̄ ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

Page 7: Effects of Program Nine-Square Aerobic and Step Aerobics ...gnru2017.psru.ac.th/proceeding/532-25600830101612.pdf · Fitness of hand strength and the percentage of fat was decreasing

รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17

917

2. น าข้อมูลที่ได้จากการทดสอบสมรรถภาพทางกลไกและการวัดเปอร์เซ็นต์ไขมันร่างกาย ทั้งก่อนการฝึก และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และกลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก หาค่าเฉลี่ย (Mean) หาค่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

3. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยทั้งก่อนการฝึก และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 โดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภายในกลุ่มที่เต้น แอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และกลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิกโดยใช้สถติิค่า ที (t – test Independent) 4. ก าหนดนัยส าคัญทางสถิติที่ p<0.05

ผลการวิจัย 1. ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอายุ น้ าหนัก และส่วนสูงของกลุ่มที่ 1 ฝึกเต้น แอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 19.54 ปี น้ าหนักเฉลี่ยเท่ากับ 65.21 กิโลกรัม และส่วนสูงเฉลี่ยเท่ากับ 171.37 เซนติเมตร และกลุ่มที่ 2 ฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก มีอายุเฉลี่ย เท่ากับ 19.43 ปี น้ าหนักเฉลี่ยเท่ากับ 61.26 กิโลกรัม และส่วนสูงเฉลี่ยเท่ากับ 168.34เซนติเมตร ผลการเปรียบเทียบ อายุ น้ าหนัก และส่วนสูง ก่อนการฝึกระหว่าง กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ 2. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสมรรถภาพทางกลไกภายในกลุ่ม ระหว่างกลุ่มที่ 1 ฝึกเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และ กลุ่มที่ 2 ฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก ก่อนการฝึก พบว่า สมรรถภาพทางกลไกของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ 3. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ภายในกลุ่ม ระหว่างกลุ่มที่ 1 ฝึกเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และ กลุ่มที่ 2 ฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก ก่อนการฝึก พบว่า เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ 4. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลีย่และสว่นเบี่ยงเบนมาตรฐานของสมรรถภาพทางกลไก ระหว่างกลุ่มที่ 1 ฝึกเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และกลุ่มที่ 2 ฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก ภายหลังการฝึก 8 สัปดาห์ กลุ่มที่ 2 ฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก พบว่า ความอ่อนตัวเพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.61 เซนติเมตร วิ่งเก็บของ (วินาที) ใช้เวลาได้ดีขึ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.90 วินาที วิ่ง 1800 ม. (นาที) ท าสถิติมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.66 นาที ลุก – นั่ง มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เท่ากับ 33.33 ครั้ง ซึ่งแตกต่างกันทางอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ระหว่างกลุ่มที่ 1 ฝึกเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และ กลุ่มที่ 2 ฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก ภายหลังการฝึก 8 สัปดาห์ พบว่า การวัดความหนาของไขมันใต้ผิวหนังบริเวณ Biceps Triceps Subscapular และ Suprailiac ทุกรายการที่กล่าวมาเปอร์เซน็ต์ไขมันในร่างกาย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Page 8: Effects of Program Nine-Square Aerobic and Step Aerobics ...gnru2017.psru.ac.th/proceeding/532-25600830101612.pdf · Fitness of hand strength and the percentage of fat was decreasing

รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17

918

ตาราง 1 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและสว่นเบี่ยงเบนมาตรฐานของอายุ น้ าหนัก และส่วนสูง ของกลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และกลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก ก่อนการฝึก

ลักษณะทางกายภาพ กลุ่มเต้นแอโรบิก x̄ S.D. p-value

อายุ (ปี) ฝึกแบบตาราง 9 ช่อง 19.54 0.98

0.234 ฝึกแบบสเต็ปแอโรบิก 19.43 0.85

น้ าหนัก(กก.) ฝึกแบบตาราง 9 ช่อง 65.21 10.48

0.793 ฝึกแบบสเต็ปแอโรบิก 61.26 10.29

ส่วนสูง(ซม.) ฝึกแบบตาราง 9 ช่อง 171.37 6.38

0.864 ฝึกแบบสเต็ปแอโรบิก 168.34 7.91

จากตาราง 1 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอายุ น้ าหนัก และส่วนสูงของกลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 19.54 ปี น้ าหนักเฉลี่ยเท่ากับ 65.21 กิโลกรัม และส่วนสูงเฉลี่ยเท่ากับ 171.37 เซนติเมตร และกลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก มีอายุเฉลี่ย เท่ากับ 19.43 ปี น้ าหนักเฉลี่ยเท่ากับ 61.26 กิโลกรัม และส่วนสูงเฉลี่ยเท่ากับ 168.34 เซนติเมตร ผลการเปรียบเทียบ อายุ น้ าหนัก และส่วนสูง ก่อนการฝึกระหว่าง กลุ่มฝึกเต้น แอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และกลุ่มฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ

ตาราง 2 การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสมรรถภาพทางกลไก ภายในกลุ่ม ระหว่างกลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่องและกลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก ก่อนการฝึก

รายการทดสอบ

กลุ่มเต้นแอโรบิก

ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน

มาตรฐาน เปรียบเทยีบภายในกลุ่ม

x̄ S.D. t p-value

ความอ่อนตัว (ซม.) ฝึกแบบตาราง 9 ช่อง 15.01 5.89

-.108 0.914 ฝึกแบบสเต็ปแอโรบิก 14.84 6.97

ความแข็งแรงมือ (กก.)

ฝึกแบบตาราง 9 ช่อง 44.44 8.36 -1.753 0.089

ฝึกแบบสเต็ปแอโรบิก 41.39 8.36

ความแข็งแรงขา (กก.) ฝึกแบบตาราง 9 ช่อง 146.07 37.52

-.426 0.673 ฝึกแบบสเต็ปแอโรบิก 141.25 42.62

กระโดดไกล (เมตร) ฝึกแบบตาราง 9 ช่อง 209.74 21.03

-1.434 0.161 ฝึกแบบสเต็ปแอโรบิก 200.77 28.76

วิ่งเก็บของ (วินาที) ฝึกแบบตาราง 9 ช่อง 12.49 1.24

.905 0.372 ฝึกแบบสเต็ปแอโรบิก 12.73 1.25

Page 9: Effects of Program Nine-Square Aerobic and Step Aerobics ...gnru2017.psru.ac.th/proceeding/532-25600830101612.pdf · Fitness of hand strength and the percentage of fat was decreasing

รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17

919

*p< 0.05 จากตาราง 2 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสมรรถภาพทางกลไก ภายในกลุ่มระหว่างกลุ่มที่

ฝึกเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และกลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก ก่อนการฝึก พบว่า สมรรถภาพทางกลไกของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ

ตาราง 3 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ภายในกลุ่ม ระหว่างกลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่องและกลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก ก่อนการฝึก

รายการทดสอบ

กลุ่มเต้นแอโรบิก

ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน

มาตรฐาน เปรียบเทยีบภายในกลุ่ม

x̄ S.D. t p-value

Biceps (มม.) ฝึกแบบตาราง 9 ช่อง 6.43 4.95

-.215 0.831 ฝึกแบบสเต็ปแอโรบิก 6.17 4.15

Triceps (กก.) ฝึกแบบตาราง 9 ช่อง 10.49 7.39

-.031 0.975 ฝึกแบบสเต็ปแอโรบิก 10.43 6.45

Subscapular (มม.) ฝึกแบบตาราง 9 ช่อง 16.83 11.13

-.775 0.444 ฝึกแบบสเต็ปแอโรบิก 14.80 8.99

Suprailiac (มม.) ฝึกแบบตาราง 9 ช่อง 12.66 7.07

-.620 0.540 ฝึกแบบสเต็ปแอโรบิก 11.63 5.73

*p< 0.05 จากตาราง 3 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ภายในกลุ่ม ระหว่างกลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และกลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก ก่อนการฝึก พบว่า เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ

ตาราง 4 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสมรรถภาพทางกลไก ระหว่างกลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่องและกลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก ภายหลังการฝึก 8 สัปดาห์

รายการทดสอบ กลุ่มฝึกแบบตาราง 9 ช่อง ฝึกแบบสเต็ปแอโรบิก เปรียบเทียบภายในกลุ่ม

x̄ S.D. x̄ S.D. t p-value

ความอ่อนตัว (ซม.) 15.01 5.89 18.61 7.01 -2.324 0.023*

ความแข็งแรงมือ (กก.) 44.44 6.09 47.62 9.49 -1.672 0.099

ความแข็งแรงขา (กก.) 146.07 37.52 155.30 47.64 -.902 0.370

วิ่ง 1800 ม. (นาที) ฝึกแบบตาราง 9 ช่อง 12.49 1.24 1.070 0.292 ฝึกแบบสเต็ปแอโรบิก 10.54 1.17

ลุก – นั่ง (ครั้ง) ฝึกแบบตาราง 9 ช่อง 24.66 2.24

1.350 0.186 ฝึกแบบสเต็ปแอโรบิก 25.31 2.19

Page 10: Effects of Program Nine-Square Aerobic and Step Aerobics ...gnru2017.psru.ac.th/proceeding/532-25600830101612.pdf · Fitness of hand strength and the percentage of fat was decreasing

รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17

920

กระโดดไกล (เมตร) 209.74 21.03 217.45 37.11 -1.068 0.289

วิ่งเก็บของ (วินาที) 12.49 1.24 10.90 0.94 5.997 0.000*

วิ่ง 1800 ม. (นาที) 33.23 2.38 24.66 2.25 -15.497 0.000*

ลุก – นั่ง (ครั้ง) 24.66 2.24 33.23 2.38 -15.497 0.000*

*p< 0.05 จากตาราง 4 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสมรรถภาพทางกลไก ระหว่างกลุ่มที่ ฝึกเต้น แอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และกลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก ภายหลังการฝึก 8 สัปดาห์ กลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก พบว่า ความอ่อนตัวเพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.61 เซนติเมตร วิ่งเก็บของ (วินาที) ใช้เวลาได้ดีขึ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.90 วินาที วิ่ง 1800 ม. (นาที) ท าสถิติมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.66 นาที ลุก – นั่ง มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เท่ากับ 33.33 ครั้ง ซึ่งแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ .05 ตาราง 5 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายระหว่าง กลุ่มที่ฝึกเต้น แอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และกลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก ภายหลังการฝึก 8 สัปดาห์

รายการทดสอบ กลุ่มฝึกแบบตาราง 9 ช่อง ฝึกแบบสเต็ปแอโรบิก เปรียบเทียบภายในกลุ่ม

x̄ S.D. x̄ S.D. t p-value

Biceps (มม.) 6.43 4.95 3.43 2.96 3.074 0.003*

Triceps (กก.) 10.49 7.39 7.00 5.36 2.260 0.027*

Subscapular (มม.) 16.83 11.13 10.26 8.06 2.828 0.006*

Suprailiac (มม.) 12.66 7.07 7.23 5.00 3.707 0.000*

*p< 0.05 จากตาราง 5 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ระหว่างกลุ่มที่ฝึกเต้น

แอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และกลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก ภายหลังการฝึก 8 สัปดาห์ พบว่า การวัดความหนาของไขมันใต้ผิวหนังบริเวณ Biceps Triceps Subscapular และ Suprailiac ทุกรายการที่กล่าวมาเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ขสรุปและอภิปรายผล 1. ผลของการเปรียบเทียบโปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และโปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอ

โรบิก ที่มีต่อสมรรถภาพทางกลไก และเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของนักศึกษาชาย ช้ันปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตล าปาง ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการฝึก 8 สัปดาห์ กลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก สมรรถภาพทางกลไกด้านความอ่อนตัวเพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.61 เซนติเมตร วิ่งเก็บของ (วินาที) ใช้เวลาได้ดีขึ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.90 วินาที วิ่ง 1800 ม. (นาที) ท าสถิติมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.66 นาที ลุก – นั่ง มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เท่ากับ 33.33 ครั้ง แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสมรรถภาพทางกลไกของกลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และกลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิก

Page 11: Effects of Program Nine-Square Aerobic and Step Aerobics ...gnru2017.psru.ac.th/proceeding/532-25600830101612.pdf · Fitness of hand strength and the percentage of fat was decreasing

รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17

921

แบบสเต็ปแอโรบิกมีสมรรถภาพทางกลไกมีการพัฒนาที่ดีขึ้นทุกรายการที่ท าการทดสอบ ยกเว้นสมรรถภาพทางกลไกด้านความแข็งแรงของมือ ความแข็งแรงของขาและกระโดดไกล ที่ไม่แตกต่างกันย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ เนื่องจาก โปรแกรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีการเพิ่มความหนักของงานมากเพิ่มขึ้นในแต่ละช่วงสัปดาห์ที่ท าการฝึกการออกก าลังกาย ดังที่ Lexic (1992) กล่าวว่า ความถี่ในการฝึก ฝึกสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที และวิธีการปฏิบัติตามโปรแกรมที่ก าหนดไว้ ในการพัฒนาสมรรถภาพทางกายให้เพิ่มข้ึน และ สุกัญญา พานิชเจริญนาม และสืบสาย บุญวีรบุตร (2540) กล่าวว่า ระยะเวลาในการออกก าลังกายที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับระดับความหนักของการออกก าลังกาย นอกจากนี้ กรมพลศึกษา (2555) ยังกล่าวว่า ในการเต้นแอโรบิกด๊านซ์เป็นการออกก าลังกายที่สนุกสนานและสร้างเสริมความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายอย่างดียิ่ง และความหนัก (Intensity) ในการออกก าลังกายแต่ละครั้งนั้น ถ้าจะให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย การออกก าลังกายให้หนักเพียงพอกล่าวคือหัวใจหรือชีพจรเต้นอยู่ระหว่าง 60-80% ของอัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ สอดคล้องกับ จันทนา รณฤทธิวิชัย และคณะ (2552) ได้ท าการวิจัยเรื่อง การประเมินสมรรถภาพกายก่อนและหลังการออกก าลังกายแอโรบิกแบบตารางเก้าช่องและยืดเหยียดกล้ามเนื้อโดยใช้ยางยืดของผู้สูงอายุในโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการออกก าลังกาย สมรรถภาพกายโดยรวมดีขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (p.<05) ได้แก่ ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ความอดทนในการท าหน้าท่ีของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รวมทั้งความหนาแน่นของมวลกระดูกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับ ภาคภูมิ พิลึก (2552) อ้างถึงใน เจริญ กระบวนรัตน์ (2548) รายงานว่า ตาราง 9 ช่อง คือ เครื่องมือเพื่อน าไปสู่การพัฒนาปฏิสัมพันธ์ในการเรียนรู้และการรับรู้สั่งงานของสมอง ช่วยประสานความสัมพันธ์ระหว่างระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เพื่อกระตุ้นและพัฒนาปฏิกิริยาความเร็วในการปฏิบัติทักษะการเคลื่อนไหว ความรวดเร็วในการคิด และการตัดสินใจให้มีประสิทธิภาพยิ่งข้ึน และ นพวรรณ ระลึกมูล (2546) ได้ท าการเปรียบเทียบผลของการฝึกการเต้นแอโรบิกและแอโรบิกแบบศิลปะมวยไทยที่มีต่อสมรรถภาพทางกลไกและเปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกายของนิสิตหญิง ผลการวิจัยพบว่า สมรรถภาพทางกลไกและเปอร์เซ็นต์ไขมันในกลุ่มเต้นแอโรบิกแบบศิลปะมวยไทยหลักการฝึก 8 สัปดาห์ มีความแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ

เมื่อท าการเปรียบเทียบสมรรถภาพของเปอร์เซ็นต์ไขมันใต้ผิวหนังบริเวณ Biceps, Triceps, Subscapular และ Suprailiac โดยใช้ Skinfold caliper เป็นเครื่องมือในการวัด ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่ 2 ฝึกเต้นแอโรบิกแบบสเต็ป แอโรบิก ค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ลดลงดีกว่ากลุ่มที่ 1 ท่ีฝึกเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสติที่ระดับ .05 เนื่องจาก ท่าทางการเต้น ได้แก่ท่าการใช้แขนแบบต่างๆ เช่น พับแขน กางแขน ยกแขน เหยียดแขน ฯลฯ เป็นต้น และท่าทางเหล่านี้เป็นสาเหตุท าให้กลุ่มเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิ กมีค่าเฉลี่ยของ เปอร์เซ็นต์ไขมันหลังการฝึกลดลงทุกรายการที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งโปรแกรมการออกก าลังกายเป็นการออกก าลังกายที่มีความต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้เกิดการเผาผลาญที่ดี ดังท่ี สุกัญญา พานิชเจริญนาม (2540) กล่าวถึง ประโยชน์ของการออกก าลังกายแบบแอโรบิกข้อหนึ่งว่า เพื่อเพ่ิมปริมาณการเผาผลาญไขมันใต้ผิวหนัง ร่างกายได้สัดส่วน กล้ามเนื้อทั่วร่างกายกระชับมากขึ้น และ สุดา กาญจนะวนิชย์ (2543) ได้ศึกษาเรื่อง การเปรียบเทียบผลของการฝึกเต้นแอโรบิกแบบศิลปะมวยไทยและการฝึกเต้นแอโรบิกแบบแรงกระแทกต่ าที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย หลังการฝึกเต้นแอโรบิก เปอร์เซ็นต์ไขมันของทั้งสองกลุ่มลดลง สอดคล้องกับ Burris (1979) ได้ท าการวิจัยเกี่ยวกับ "การเปรียบเทียบโปรแกรมการฝึกแอโรบิกด๊านซ์กับการเต้นร าพื้นเมืองในระยะเวลา 6 สัปดาห์และโปรแกรมการวิ่งเหยาะในเวลา 6 สัปดาห์ที่มีผลต่อระบบไหลเวียน และ เปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกายในเด็กหญิงวัยรุ่น" ผลการวิจัยพบว่า ทั้งสองโปรแกรมสามารถเพิ่มสมรรถภาพของระบบไหลเวียนและลดเปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกายได้ และ นลินี ชุณหสิริ (2536) ได้ศึกษาเรื่อง ผลของการออกก าลังกายแบบแอโรบิกที่มีต่อองค์ประกอบของสมรรถภาพทางกานในผู้หญิงสูงอายุ ผลการวิจัยพบว่า หลังการฝึก 10 สัปดาห์ เปอร์เซ็นไขมันในร่างกายมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Page 12: Effects of Program Nine-Square Aerobic and Step Aerobics ...gnru2017.psru.ac.th/proceeding/532-25600830101612.pdf · Fitness of hand strength and the percentage of fat was decreasing

รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17

922

ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย

การวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และโปรแกรมการเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก สามารถพัฒนาสมรรถภาพทางกลไกของทั้งสองกลุ่มให้ดีขึ้น แต่ในกลุ่มที่เต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิก มีสมรรถภาพทางกลไกที่พัฒนาได้ดีขึ้นหลายด้านรวมทั้งเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายลดลงได้ดีกว่ากลุ่มที่ฝึกเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง ซึ่งอาจเป็นผลจากท่าทางการเต้น ได้แก่ ท่าการใช้แขนแบบต่างๆ เช่น พับแขน กางแขน ยกแขน เหยียดแขน ฯลฯ เป็นต้น และด้วยท่าทางการเคลื่อนไหวเหล่านี้จึงเป็นสาเหตุท าให้การเต้นแอโรบิกแบบสเต็ปแอโรบิกจึงเหมาะที่จะน ามาใช้ในการออกก าลังกายเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกลไกและเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ในกลุ่มของนักศึกษาชาย อายุระหว่าง 18-20 ปี ซึ่งก็มีข้อแนะน าในการก้าวขึ้นลงสเต็ปบ็อกหรือกล่องก้าวขึ้นลง (Platform) และท่าท่างการเคลื่อนไหวในขณะที่ท าการเต้น เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น หรือการบาดเจ็บ และเพิ่มความปลอดภัยจากการฝึกเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการเต้นแอโรบิกทั้งสองโปรแกรม

ข้อเสนอแนะส าหรับการวิจัยคร้ังต่อไป 1. ควรมีการศึกษาการเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และการเต้นแบบสเต็ปแอโรบิกกับกิจกรรมการออกก าลัง

กายแบบอ่ืนๆ เช่น การเดิน การวิง่ ว่ายน้ า การปั่นจักรยาน 2. ควรมีการเปรียบเทียบอัตราการเปลี่ยนแปลงของสมรรถภาพทางกายของกลุ่มเต้นแอโรบิกแบบตาราง 9 ช่อง และการเต้นแบบสเต็ปแอโรบิก 3. ควรมีการเปรียบเทียบความหนักในการออกก าลังกายในแต่ละช่วงสัปดาห์ 4. ควรมีการวิจัยในกลุ่มประชากรในช่วงวัยต่างๆ

กิตติกรรมประกาศ ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์สุดยอด ชมสะห้าย อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก และผู้ช่วยศาสตราจารย์

ดร.ศิริพร สัตยานุรักษ์ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ที่ได้กรุณาสละเวลา แนะน า ช่วยเหลือ ให้ความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์และปรับปรุง ตรวจสอบ แก้ไขงานครั้งนี้ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ด้วยดีตลอดมา ผู้วิจัยจึงขอกราบขอบพระคุณในความกรุณาของท่านเป็นอย่างสูง

สุดท้ายนี้ คุณค่า และประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัยฉบับนี้ ขอมอบให้ คุณพ่อ คุณแม่ และบุตร ที่ให้ก าลังในการท างานช้ินนี้ ตลอดจนพ่ีน้องและเพื่อนๆ ทุกคน ที่ให้การสนับสนุนและคอยเป็นก าลังใจด้วยดีเสมอมา ขอขอบพรุคุณเป็นอย่างสูง

เอกสารอ้างอิง กรมพลศึกษา. (2555). แอโรบิกดา๊นซ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมนมุสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจ ากัด. งานศูนย์ฝึกและบริหารกาย. (2534). สเต็ปแอโรบิก. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจ ากัดมีเดียเพรส. จันทา พลเยี่ยม. (2555). การพัฒนาการติดตามผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานหน่วยบริการปฐมภมูิโรงพยาบาลพุทไธสง. การศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบณัฑติ สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. เจริญ กระบวนทัศน์. (2548). ความเป็นมาของตาราง 9 ช่องกับการพัฒนาสมอง . ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา. คณะ

ศึกษาศาสตร,์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร,์ กรุงเทพฯ. นลินี ชุณหสริ.ิ (2536) ผลของการออกก าลังกายแบบแอโรบิก ที่มีตอ่องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกายในหญิงสูงอาย.ุ

วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบณัฑิต มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร

Page 13: Effects of Program Nine-Square Aerobic and Step Aerobics ...gnru2017.psru.ac.th/proceeding/532-25600830101612.pdf · Fitness of hand strength and the percentage of fat was decreasing

รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการ (Proceedings) การน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17

923

นพวรรณ ระลึกมูล. (2546). เปรียบเทียบผลของการฝึกการเต้นแอโรบิกและแอโรบิกแบบศิลปะมวยไทยท่ีมีต่อสมรรถภาพทางกลไลและเปอร์เซ็นต์ไขมันของร่างกายของนิสิตหญิง. ปรญิญาศลิปะศาสตร์มหาบณัฑติ (พลศึกษา) สาขาพลศึกษา ภาควชิาพลศึกษา มหาวิทยาลยัเกษตรศาสตร.์

นภดล มณลี้ า. (2542). แอโรบิกด๊านซ์. กรุงเทพ ฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ. บรรเทิง เกิดปรางค์. (2541). การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย. กรุงเทพฯ : ส านักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ. ภาคภูมิ พิลึก. (2552). ผลของการฝึกตาราง 9 ช่อง ขนาดแตกต่างกันที่มีต่อเวลาปฏิกิริยาตอบสนอง. ปริญญาวิทยา ศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การกีฬา) บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วัฒนี แสนทนิล. (2547). ศึกษาเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกลไกของนักเรียนช้ันประถมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล เมืองสกลนครและสังกัดการประถมศึกษาในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดสกลนคร . วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิตสาขาวิชาพลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. พิชิต ภูติจันทร.์ (2547). การทดสอบและประเมินผลทางพลศึกษา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร.์ สุกัญญา พานิชเจริญนาม. (2540). แอโรบิกด๊านซ์ คู่มือส าหรับครฝูกึ. ภาควิชาพลศึกษา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลยัศรีนครีนทรวิโรฒ สุกัญญา พานิชเจริญนาม และสืบสาย บุญวรีบุตร. (2540). ผู้น าแอโรบิกทันสมัย. เอกสารประกอบค าบรรยาย. (อัดส าเนา). สุดา กาญจนะวนิชย.์ (2543). การเปรียบเทียบผลการเต้นแอโรบิกแบบศิลปะมวยไทยกับการเต้นแอโรบิกแบบแรงกระแทก ต่ าที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบณัฑิต ภาควิชาพลศึกษา บัณฑิตวทิยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Lexic, W. (1992). Aerobic instructor course in Hongkong. 23-30 April Network for Fitness Professionals.