Ca351 week06 the process of tv production

22
ส า ข า วิ ช า นิ เ ท ศ ศ า ส ต ร์ บู ร ณ า ก า ร ค ณ ะ ศิ ล ป ศ า ส ต ร์ ม ห า วิ ท ย า ลั ย แ ม่ โ จ้ กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์ และภาพยนตร์ ขั้นตอนพัฒนาความคิด (Initiation) ขั้นตอนเตรียมงานก่อนการถ่ายทํา (Pre-production) ขั้นตอนผลิตรายการ (Production) ขั้นหลังผลิตรายการ (Post-production) ขั้นตอนประเมินผล (Evaluation) นศ 351 โทรทัศน์และภาพยนตร์ [CA 351 Television and Film] (ปีการศึกษาท2/2558) รวมรวม/เรียบเรียง โดย อาจารย์ณัฏฐพงษ์ สายพิณ

description

เอกสารประกอบการสอน นศ351 โทรทัศน์และภาพยนตร์ (2/2558) : กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์

Transcript of Ca351 week06 the process of tv production

Page 1: Ca351 week06 the process of tv production

ส า ข า วิ ช า นิ เ ท ศ ศ า ส ต ร์ บู ร ณ า ก า ร ค ณ ะ ศิ ล ป ศ า ส ต ร์

ม ห า วิ ท ย า ลั ย แ ม่ โ จ้

กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ • ขั้นตอนพัฒนาความคิด (Initiation) • ขั้นตอนเตรียมงานก่อนการถ่ายทํา (Pre-production)

• ขั้นตอนผลิตรายการ (Production) • ขั้นหลังผลิตรายการ (Post-production)

• ขั้นตอนประเมินผล (Evaluation)

นศ 351

โทรทัศน์และภาพยนตร์ [CA 351 Television and Film] (ปีการศึกษาที่ 2/2558)

รวมรวม/เรียบเรียง โดย อาจารย์ณัฏฐพงษ์ สายพิณ

Page 2: Ca351 week06 the process of tv production

กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ | 2

กระบวนการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน ์ รายการที่นําเสนอออกสู่สายตาผู้ชมผ่านจอโทรทัศน์ ด้วยข่าวสารเนื้อหาสาระหรือความบันเทิงที่ชวนให้ติดตามรับชม เกิดจากกระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์ที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ ความประณีตและพิถีพิถัน ในการทํางานของ ทีมงานด้านการผลิต เริ่มตั้งแต่การเตรียมการก่อนการผลิต ไปสู่กระบวนการขั้นผลิตรายการ และหลังการผลิต เพื่อให้รายการ มีคุณภาพ และมีประโยชน์สนองตอบความต้องการของผู้ชมนั่นเอง ตําราทางด้านการผลิตรายการโทรทัศน์ส่วนใหญ่ได้จัดขั้นตอนการผลิตรายการโทรทัศนท์ั่วไปประกอบด้วย 3 ขั้นตอน

หรือที่เรียกว่า “3P” ได้แก ่1. ขั้นเตรียมการก่อนการผลิต (pre production) 2. ขั้นการผลิตรายการ (production) และ

3. ขั้นหลังการผลิต (post production) อย่างไรก็ดี ในที่นี้ได้ขยายกระบวนการผลิตรายการโทรทัศนจ์าก 3 ขั้นตอน ไปเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่

1. ขั้นตอนพัฒนาความคิด (Initiation) 2. ขั้นตอนเตรียมงานก่อนการถ่ายทํา (Pre-production) 3. ขั้นตอนผลิตรายการ (Production) 4. ขั้นหลังผลิตรายการ (Post-production) 5. ขั้นตอนประเมินผล (Evaluation)

สาเหตุของการเพิ่มขั้นตอนพัฒนาความคิด (Initiation) และขั้นตอนประเมินผล (Evaluation) เข้ามา เนื่องจากผู้ผลิตรายการสมัครเล่นส่วนใหญ่มักให้ความสนใจในการผลิตรายการโทรทัศน์เฉพาะในแง่ของการลงมือผลิตแง่ของการลงมือผลิตในขั้นตอนการถ่ายทํากับการตัดต่อเป็นส่วนใหญ่ แต่กลับละเลยขั้นตอนสําคัญๆ เช่น การพัฒนาความคิดอนัเป็น รากฐานสําคัญของการผลิตรายการ การวางแผนงานก่อนการถ่ายทําจริงที่จะช่วยให้ทํางานไปได้อย่างราบรื่น และการประเมิน ผลงานเพื่อนําข้อมูลมาใช้ในการพัฒนารายการต่อไป ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการแตกกระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์ออกเป็น 5 ขั้นตอน เพื่อให้ได้ตระหนักถึงความสําคัญของขั้นตอนต่างๆ ที่ได้ขยายออกมาให้มากยิ่งขึ้น

1. ขั้นตอนพัฒนาความคิด (Initiation)

การผลิตรายการโทรทัศน์ไม่ว่าเป็นรายการใหม่หรือรายการที่ออกอากาศอยู่ ล้วนต้องเริ่มต้นจาก “ความคิด (Ideas)” มากมาย เช่น ผลิตรายการอะไร เป้าหมายคืออะไร เนื้อหาอย่างไร รูปแบบไหน กลุ่มเป้าหมายคือใคร งบประมาณเท่าไร ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นคําถามสําคัญก่อนลงมือผลิตรายการโทรทัศน์ และอาจกล่าวได้ว่าขั้นตอนนี้คือขั้นตอนที่เป็นรากฐานที่สําคัญที่สุดสําหรับเป็นแนวทางในการทํางานขั้นตอนต่อๆ ไป ส่วนใหญ่รายการที่เป็นรายการใหม่อาจต้องใช้เวลาในการกลั่นกรองความคดิ ซึ่งโปรดิวเซอร์ (Producer) หรือผู้อํานวยการผลิต (Executive producer) มักจะเป็นผู้จุดประกายความคิดในเบื้องต้นเกี่ยวกับการสร้างรายการใหม ่หลังจากนั้นจึงระดมความคิดเห็นจากทีมงานหรือผู้เชี่ยวชาญมาแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อทําให้ความคิดรายการ (Program idea) ให้ชัดเจนมากขึ้น จนพัฒนาเป็นแก่นรายการ (Theme) ที่น่าสนใจและมีความเป็นไปได้ในการผลิต

การลงรายละเอียดทางความคิดให้มีความชัดเจนมากขึ้น เรียกว่า การกําหนดกระบวนการสาร (defined process message) ได้แก่การกําหนดกรอบสิ่งที่ต้องการนําเสนอว่า รายการต้องการนําเสนออะไร (what) เพื่ออะไร (for what) ให้ใคร (to whom) และอย่างไร (how) หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การกําหนดเป้าหมายรายการ กลุ่มเป้าหมาย เนื้อหารูปแบบ การนําเสนอ ลักษณะการถ่ายทํา งบประมาณ และรายชื่อผู้ร่วมงาน เป็นต้น ซึ่งในขั้นตอนนี้ต้องมีการค้นคว้าหาข้อมูลจาก แหล่งต่างๆ เพื่อนํามาประกอบการตัดสินใจในการกําหนดทิศทางการผลิตรายการต่อไป จากนั้นเป็นการเขียนโครงงานการผลิตรายการหรือข้อเสนอรายการ (Program Proposal) เพื่อยื่นเสนอต่อสถานีโทรทัศน ์หรือหัวหน้าฝ่ายรายการ การเขียนโครงงานการผลิตรายการ/ข้อเสนอผลิตรายการนั้นเป็นงานที่มีความสําคัญมาก เพราะความคิด ต่างๆ ที่กระจัดกระจายในตอนต้นจะถูกกลั่นรกองและจัดเป็นระบบความคิดผ่านการเขียนโครงงานการผลิตรายการนั่นเอง ดังนั้นแม้ความคิดยอดเยี่ยมเพียงใด แต่หากเขียนโครงงานการผลิตรายการไม่ชัดเจนหรือไม่น่าสนใจ ไม่เป็นรูปธรรม ไม่เป็นระบบ ความคิดนั้นอาจไม่ได้รับการตอบรับจากสถานีโทรทัศน์หรือผู้อุปถัมภ์รายการได้นั่นเอง ด้วยเหตุนี้ผู้เสนอควรใส่ข้อมูลจําเป็นๆ

Page 3: Ca351 week06 the process of tv production

กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ | 3

เพื่อให้เห็นโครงสร้างทางความคิดหลักๆ เกี่ยวกับรายการที่ต้องการผลิต เช่น ชื่อรายการ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย ระยะเวลาการนําเสนอ รูปแบบรายการ วิธีการผลิต งบประมาณ ผลที่คาดว่าจะได้รับ และรายชื่อทีมงาน เป็นต้น ทั้งนี้การใส่รายละเอียดมากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็ไม่เป็นผลดีต่อการนําเสนอ ควรเขียนให้กระชับ ชัดเจน เข้าใจง่าย และมีสาระสําคัญครบถ้วน หลังจากโครงการการผลิตรายการได้รับการพิจารณาอนุมัติแล้ว ทีมผู้ผลิตรายการหลักจะต้องมา ประชุมกันเพื่อร่วมกันออกแบบ (Design) องค์ประกอบต่างๆ ในรายการให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่วางไว้ รวมถึงการเขียนบทรายการ (Script) sหรือสตอรี่บอร์ด (Storyboard) เพื่อให้เห็นภาพที่ตรงกันในทีมงาน หลังจากนั้นทุกฝ่ายจะออกไปค้นคว้าข้อมูลมาเพิ่มเติมและนําไปออกแบบงานเพื่อดําเนินการลงมือทําจริงต่อไป สามารถเขียนเป็นผังคร่าวๆ ได้ดังภาพ

ขั้นตอนการพัฒนาความคิด

2. ขั้นตอนเตรียมงานก่อนการถ่ายทํา (Pre-production) ในขั้นตอนนี้เป็นการทํางานที่เน้นเรื่องการวางแผนเกี่ยวกับการบริหารจัดการพร้อมกับการประสานงานกับทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้งานดําเนินไปได้อย่างราบรื่น ประหยัด และมีประสิทธิภาพ งานส่วนใหญ่เป็นการจัดทําตารางงาน การประสานงาน และการนัดหมาย โดยจัดทําเป็น

2.1 ตารางเวลาการผลิตรายการ (Production scheduling) เป็นตัวกําหนดว่าทีมงานจะออกกอง ตัดต่อ ลงเสียง และส่งเทปวันไหน ที่ไหน อย่างไร และใครรับผิดชอบ

2.2 เอกสารออกกองถ่ายทํา (Call sheet) เป็นเอกสารที่มีการระบุข้อมูล วัน เวลา สถานที่ บุคคลที่ติดต่อประสารงาน ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อที่ชัดเจน พร้อมระบุว่าทีมงานคนในต้องออกกองถ่ายทํา ทําหน้าที่อะไร และอุปกรณ์ที่ต้องใช้มีอะไร เป็นต้น

2.3 การทําหนังสือขออนุญาตถ่ายทํา (Permit documents) เนื่องจากการถ่ายทํารายการโทรทัศน์ส่วนใหญ่จําเป็นต้องติดต่อขอสถานที่ถ่ายทํา ขอข้อมูล และผู้ให้สัมภาษณ์ ซึ่งหลายครั้งผู้ติดต่อประสารงานกับเจ้าหน้าที่ที่ลงพื้นที่นั้นเป็นคนละคนกัน ดังนั้นการเตรียมการในขั้นตอนนี้จะลดความผิดพลาดในการติดต่อสื่อสารหรือการถูกปฏิเสธจากเจ้าหน้าที่ที่ไม่ได้รับทราบข้อมูลมาก่อนว่ามีการติดต่อระหว่างกันไว้ล่วงหน้าแล้ว

สําหรับเอกสารข้างต้นนั้นมีความจําเป็นต้องทําขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้ทีมงานในการจัดตารางงานของแตล่ะฝ่ายต่อไป สามารถเขียนเป็นผังคร่าวๆ ได้ดังภาพ

Page 4: Ca351 week06 the process of tv production

กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ | 4

ขั้นตอนการเตรียมงานก่อนการถ่ายทํา

3. ขั้นตอนผลิตรายการ (Production) ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการผลิตรายการหรือถ่ายทําจริงๆ

ซึ่งอาจใช้วิธีการบันทึกเทปรายการแล้วนํามาออกอากาศภายหลัง เช่น รายการละคร รายการเกมโชว์ รายการสารคดี ฯลฯ ซึ่งวิธีการบันทึกเทปมีข้อดีคือสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ และมีเวลาในการพิถีพิถันปรับปรุงรายการให้มีความสมบูรณ์ที่สุดก่อนออกอากาศ

อีกกรณีหนึ่งในการผลิตรายการ คือ วิธีการผลิตรายการสดเพื่อออกอากาศทันที เช่น รายการข่าว

รายการถ่ายทอดกีฬา การถ่ายทอดเหตุการณ์สําคัญต่างๆ การผลิตรายการโดยผลิตเป็นรายการสด (live) มีข้อดีตรงที่สามารถรายการเหตุการณ์ได้ทันเวลา น่าสนใจ เหตุการณ์มีความสดใหม่ตรงตามช่วงเวลาที่เกิดขึ้นจริง แต่อาจมีข้อเสียคือไม่สามารถแก้ไขได้หากเกิดข้อผิดพลาดระหวา่งผลิตรายการ ทีมงานผลิตจึงต้องประสานงานกัน และควบคุมการผลิตให้รัดกุมที่สุด

สําหรับการถ่ายทําจริง (Shooting) นั้นมักจะมกีารซักซ้อมก่อนการถ่ายทําจริง

เพราะจะช่วยให้ทีมงานผลิตได้ทราบปัญหา และข้อบกพร่องต่าง ๆของรายการ รวมทั้งช่วยในการพัฒนาเหตุการณ์ต่างๆ

ของรายการได้อย่างดีด้วย การซ้อมนั้นจะทําสองขั้นตอน คือ ซ้อมแห้งหรือซ้อมย่อย (dry rehearsal) เป็นการซ้อมขั้นแรก โดยจะซ้อมนอกห้องส่งรายการ หรือสถานที่ว่างๆก็ได้ ยังไม่มีอุปกรณ์ในการถ่ายทํา เป็นการสร้างความเข้าใจกับบทก่อนเพื่อฝึกน้ําเสียงตามอารมณ์ของบท ซึ่งอาจจะมีการแก้ไขบทบ้างให้เหมาะสมกับผู้แสดง

เมื่อเรียบร้อยแล้วก็จะซ้อมต่อด้วยการกําหนดมุมกล้องหรือการเคลื่อนไหว (blocking) คือ การจัดวางตัวผู้แสดง ณ จุดต่างๆ

ในฉากสมมุติขึ้นโดยยังไม่ต้องมีของจริง ขั้นตอนที่สองเป็นขั้นตอนของการซ้อมใหญ่ (dress rehearsal) เป็นการซ้อมการแสดงทุกอย่างพร้อมเหมือนจริง ไม่วาจะเป็นกล้อง อุปกรณ์ต่างๆ ฉาก รวมถึงเสื้อผ้าของนักแสดง และผู้ร่วมรายการทุกคน เพื่อเตรียมการถ่ายทําจริงในขั้นตอนต่อไป หลังถ่ายทําเสร็จเรียบร้อยหรือ “ปิดกอง” ในแต่ละวัน แต่ละฝ่ายต้องทําหน้าที่ในการเก็บอุปกรณ์และเครื่องมือ ตลอดจนเอกสารต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทปบันทึกการถ่ายทํา

(Master or rush tapes) ซึ่งต้องถูกนําไปใช้ในการตัดต่อในขั้นตอนต่อไป การทํางานในขั้นตอนดังกล่าวนี้

สามารถเขียนเป็นผังคร่าวๆ ได้ดังภาพ

Page 5: Ca351 week06 the process of tv production

กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ | 5

ขั้นตอนการผลิตรายการ

4. ขั้นหลังผลิตรายการ (Post-production) เมื่อมีการบันทึกภาพและสียงที่ถ่ายทําไว้ลงบนเทปบันทึกแล้ว

ขั้นตอนที่ต้องทําต่อไปคือการตัดต่อลําดับภาพและการผสมเสียง เพื่อให้รายการสมบูรณ์ที่สุดพร้อมที่จะออกอากาศได้ ส่วนการผลิตรายการสดจําเป็นต้องควบคุมการลําดับภาพและเสียงให้เป็นไปตามบทโทรทัศน์ที่กําหนดทิศทางเอาไว้แล้ว

การตัดต่อและลําดับภาพอาศัยศิลปะในการเรียบเรียงลําดับภาพใหม่ ให้สอดคล้องและมีความหมายได้อย่างสมบูรณ์ตามบทโทรทัศน์ที่ทีมงานผลิตได้วางโครงเรื่องไว้ นอกจากการตัดต่อลําดับภาพใหม่แล้ว การใส่เทคนิคพิเศษ กราฟิก การซ้อนตัวหนังสือ หรือเทคนิคอื่นๆ ก็จะช่วยให้ภาพมีชีวิตชีวาน่าสนใจมากขึ้น

การผสมเสียง หมายถึง การใส่เสียงเพลง เสียงคนบรรยาย เสียงประกอบ และเสียงจริง ลงไปในรายการเพื่อให้รายการสมบูรณ์ ข้อคํานึงถึงการเลือกเสียงมานําเสนอในรายการควรเลือกแต่ละเสียงให้เหมาะสมกับเนื้อหา และภาพทีป่รากฏบนจอโทรทัศน์ กล่าวคือ เสียงและภาพต้องไปด้วยกันได้ไม่ขัดแย้งกัน เช่น เสียงผู้สื่อข่าวรายการถึงบรรยากาศของผู้โดยสารรอการขึ้นรถกลับบ้านที่สถานีรถไฟหัวลําโพง ภาพที่ปรากฏก็ควรตัดไปที่ภาพบรรยากาศที่สถานีรถไฟหัวลําโพง ในขั้นตอนนี้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบจะต้องทําหมายเลขเทปถ่ายทํารายการ (Master or rush tape) แต่ละม้วน ตรวจดูภาพที่ได้มาทั้งหมดและบันทึกลงในเอกสารที่เรียกว่า ใบจดคิวเทป (Log sheet) ซึ่งมีการระบุหมายเลขเทปแต่ละม้วนว่าประกอบด้วยภาพอะไรและอยู่ ณ ตําแหน่งใดของเทป การจดตําแหน่งภาพในม้วนเทปจะดูจากรหสัตัวเลขที่ปรากกฎในสัญญาณเทป เรียกว่า “Time Code (TC)” ซึ่งเป็นรหัสอ้างอิงตําแหน่งต่างๆ ภายในเทปแต่ละม้วน ทําให้สามารถค้นหาได้ว่าภาพที่ต้องการนั้นอยู่ที่จุดใดของเทป รหัส TC จะมีตัวเลขสี่คู่ที่วิ่งได้ดังนี ้

TC 00:00:00:00 (ชั่วโมง:นาที:วินาที:เฟรม)

เช่น รหสั Time Code ระบุว่า 00:05:10:00 หมายความว่าจุดอ้างอิงของเทป ณ จุดนั้น คือ นาทีที่ 5 กับ 10 วินาที เป็นต้น ดังนั้นหากคนจดคิวเทปเขียนว่า “00:12:18:07_ภาพบ้านพระเอก” ก็หมายความว่าถ้าใครต้องการหาภาพบ้านพระเอกในเทปม้วนนั้นก็ให้หมุนเทปไปยังตําแหน่งตัวเลขอ้างอิงที่ 12 นาที 18 วินาที และเฟรมที่ 7 เป็นต้น

Page 6: Ca351 week06 the process of tv production

กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ | 6

5. ขั้นตอนประเมินผล (Evaluation) เป็นการวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการผลิตรายการโทรทัศน์ อะไรคือปัญหาและอุปสรรคในการทํางาน ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากเอกสารการทํางานและการจัดประชุมทีมงาน ดังนั้นหลังการสะสางงานทุกอย่างแล้ว โปรดิวเซอร์ควรเรียกเก็บรวบรวมเอกสารที่จัดทําขึ้นในขั้นตอนต่างๆ อย่างเป็นระบบทุกครั้ง เพื่อให้ง่ายต่อการสืบค้นข้อมูลหรือประเมินงานย้อนหลัง รวมถึงใช้เป็นแนวทางในการทํางานครั้งต่อๆ ไป โดยอาจเก็บเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์หรือแฟ้มเอกสารก็ได ้ นอกจากนี้หลังรายการออกอากาศไปแล้ว ทางฝ่ายผู้ผลิตรายการจําเป็นต้องประเมินผลงานด้วยว่ารายการที่ออกอากาศไปนั้นประสบความสําเร็จมากน้อยเพียงใด โดยสามารถดูได้ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ ได้แก่ การดูตัวเลขจากผลวัดความนิยมของผู้ชมรายการ (Rating) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวัดไดจ้ากวัตถุประสงค์รายการที่วางไว้เทียบกับผลลัพธ์ที่ออกมา หรืออาจฟังคําติชมต่างๆ ของผู้ชมและนักวิจารณ์ตามสื่อต่างๆ ก็ได้ โดยข้อมูลที่ได้รับมาจะถูกนําไปวิเคราะห์หาจุดอ่อน จุดแข็ง เพื่อพัฒนารายการในตอนต่อๆ ไป จากกระบวนการในการผลิตรายการโทรทัศน์ทั้ง 5 ขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น พบว่าการผลิตรายการโทรทัศน์มีกระบวนการที่สลับซับซ้อน ต้องอาศัยทีมงามผู้ผลิตหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องจํานวนมาก ที่ต้องร่วมมือกันประสานงานเพื่อให้การผลิตรายการโทรทัศน์มีคุณภาพ อย่างไรก็ดี ขั้นตอนทั้งห้า ไม่ได้หมายความว่ากระบวนการผลิตรายการโทรทศัน์จริงๆ จะดําเนินไปตามขั้นตอนจากขั้นที่หนึ่งไปสู่ขั้นที่ห้าอย่างเป็นระเบียบ เพราะในการทํางานขั้นตอนต่างๆ นั้น สามารถทับซ้อนเหลื่อมกันได้ หรือแม้ตี่ข้ามขั้นไปมา โดยไม่จําเป็นว่าต้องรอให้งานขั้นตอนใดเสร็จก่อนแล้วจึงเข้าสู่อีกขั้นตอนหนึ่ง หรือเมื่อเสร็จสิ้นขัน้ตอนหนึ่งแล้วก็ไม่ได้หมายความว่าจะย้อนกลับมาทํางานในขั้นตอนที่ผ่านมาแล้วอีกไม่ได้ นอกจากนี้รายการแต่ละประเภทก็มีความแตกต่างกันซึ่งส่งผลต่อการใช้เวลาในการทํางานแต่ละขั้นตอนมากน้อยแตกต่างกันด้วย เช่น รายการละครอาจใช้เวลาในการเตรียมงานก่อนการถ่ายทําค่อนข้างนานกวา่การถ่ายทําสารคดี แต่เมื่อถึงขั้นตอนการตัดต่ออาจใช้เวลาไม่มากนักเนื่องจากละครมีการใช้เครื่องสวิทเชอร์ในการตัดสลับภาพจากกล้องต่างๆ ไว้แล้ว ซึ่งต่างจากสารคดีที่มักถ่ายทําด้วยกล้องตัวเดียว การตัดต่อจึงใช้เวลานานกว่า เป็นต้น ดังนั้นกระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์จงึมีความยืดหยุ่นพอสมควร ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์จึงจําเป็นต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบในการพลิกแพลงการทํางานให้สอดคล้องกับสถานการณ์และลักษณะของรายการที่ผลิตด้วย

Page 7: Ca351 week06 the process of tv production

กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ | 7

ตัวอย่างเอกสารต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตรายการโทรทัศน์

(ตัวอย่างโครงงานการผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทรายการดนตรี)

Page 8: Ca351 week06 the process of tv production

กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ | 8

Page 9: Ca351 week06 the process of tv production

กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ | 9

Page 10: Ca351 week06 the process of tv production

กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ | 10

Page 11: Ca351 week06 the process of tv production

กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ | 11

Page 12: Ca351 week06 the process of tv production

กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ | 12

Page 13: Ca351 week06 the process of tv production

กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ | 13

Page 14: Ca351 week06 the process of tv production

กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ | 14

Page 15: Ca351 week06 the process of tv production

กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ | 15

(ตัวอย่างการวางแผนการจัดตารางเวลาการผลิตรายการ)

Page 16: Ca351 week06 the process of tv production

กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ | 16

(ตัวอย่างการแตกบท)

Page 17: Ca351 week06 the process of tv production

กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ | 17

Page 18: Ca351 week06 the process of tv production

กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ | 18

(ตัวอย่างเอกสารออกกองถ่ายทํา)

Page 19: Ca351 week06 the process of tv production

กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ | 19

Page 20: Ca351 week06 the process of tv production

กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ | 20

Page 21: Ca351 week06 the process of tv production

กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ | 21

(ตัวอย่างใบจดคิวเทป)

Page 22: Ca351 week06 the process of tv production

กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ | 22

บรรณานุกรม ชัยยงค ์พรหมวงศ,์ นิคม ทาแดง และไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค(์2547, หน้า 149-155). ประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีการจัดการการสื่อสาร

หน่วยท่ี 1-7. พิมพ์ครั้งที ่2 สุโขทัยธรรมาธิราช. วิภา อุตมฉันทร(์2544). การผลิตสื่อโทรทัศน์และสื่อคอมพิวเตอร์ : กระบวนการสร้างสรรค์และเทคนิคการผลิต. กรุงเทพ:บุ๊ค พอยท.์

ศุภางค์ นันตา. (2552). หลักการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. มหาสารคาม : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สมสุข หินวิมาน และคณะ. (2554). ความรู้เบื้องต้นทางวิทยุและโทรทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร :

สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์. (2552). หลักการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร :

สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Zettl, H. (1976). Television Production Handbook. 3rd. Edition. Wadsworth Publishing Company. Inc. Belmont, California.