อันโตนิโอ...

20
อันโตนิโอ กรัมชีกับแนวความคิดสภาโรงงาน 1 Antonio Gramsci and the Idea of the Factory Council วัชรพล พุทธรักษา 2 Abstract This paper attempts to answer two central questions; firstly, what is the idea of Gramsci’s Factory Council? And secondly, what is the benefit of understanding this idea? To answer these main questions, it is found in this study that, firstly, the idea of the Factory Council is derived from Antonio Gramsci’s pre-prison writings appeared in the L’Ordine Nuovo (The New Order), a weekly newspaper published in Turin, between 1919 and 1920. The Factory Council was a relatively new form of the proletarian organization. There are several differences between the Factory Council and the Trade Union (goals, people, organizational relations, the real beneficiaries and democracy), but the most important difference is the Council aims to anti-capitalism and bourgeoisie but not for the Union. Secondly, this concept of Factory council provides some aspects concerning Thai politics especially in the real significance of “Human” as the history maker and questioning for the anti- capitalism movements in Thailand. บทคัดยอ บทความนี้มีจุดมุงหมายเพื่อนําเสนอแนวความคิดเรื่อง “สภาโรงงาน” (The Factory Council) ของ อันโตนิโอ กรัมชี โดยมีคําถามหลักของการศึกษาวา แนวความคิดเรื่องสภาโรงงานของอันโตนิโอ กรัมชีนั้นคือ อะไร มีสาระสําคัญเชนไร และการทําความเขาใจแนวคิดเรื่องสภาโรงงานของกรัมชีนั้นมีคุณูปการอยางไร บาง สภาโรงงานเปนรูปแบบของการจัดความสัมพันธรูปแบบใหมของชนชั้นกรรมาชีพอันประกอบไปดวย คนงานในโรงงานอุตสาหกรรมและผูคนจากหลากหลายอาชีพ (ที่ไมใชชนชั้นนายทุน) โดยมีความแตกตาง จากองคกรที่มีอยูกอนคือสหภาพแรงงาน (Trade Union) หลายประการ (ดูการนําเสนอในหัวขอที่ 4) แตจุด แตกตางที่สําคัญที่สุดคือสภาโรงงานนั้นตอตานระบบทุนนิยมและชนชั้นนายทุนแตสหภาพแรงงานนั้น 1 บทความเพื่อนําเสนอในที่ประชุมวิชาการรัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตรแหงชาติ ครั้งที่ 10 พ.ศ. 2552 บทความนี้เปนสวนหนึ่งของโครงการวิจัยที่อยูระหวางการดําเนินการเรื่อง “สภาโรงงาน: อันโตนิโอ กรัมชี กับแนวความคิด สังคมนิยม” (ทุนสนับสนุนการวิจัยโดย คณะสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร) 2 อาจารยประจําสาขาวิชารัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตร คณะสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร http://twitter.com/watcharabon

description

บทความนำเสนอในที่ประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 10 ปี 2552

Transcript of อันโตนิโอ...

Page 1: อันโตนิโอ กรัมชี่กับแนวความคิดสภาโรงงาน

อันโตนิโอ กรัมชีกับแนวความคิดสภาโรงงาน1 Antonio Gramsci and the Idea of the Factory Council

วัชรพล พุทธรักษา2

Abstract

This paper attempts to answer two central questions; firstly, what is the idea of Gramsci’s Factory Council? And secondly, what is the benefit of understanding this idea?

To answer these main questions, it is found in this study that, firstly, the idea of the Factory Council is derived from Antonio Gramsci’s pre-prison writings appeared in the L’Ordine Nuovo (The New Order), a weekly newspaper published in Turin, between 1919 and 1920. The Factory Council was a relatively new form of the proletarian organization. There are several differences between the Factory Council and the Trade Union (goals, people, organizational relations, the real beneficiaries and democracy), but the most important difference is the Council aims to anti-capitalism and bourgeoisie but not for the Union.

Secondly, this concept of Factory council provides some aspects concerning Thai politics especially in the real significance of “Human” as the history maker and questioning for the anti-capitalism movements in Thailand. บทคัดยอ

บทความนี้มีจุดมุงหมายเพ่ือนําเสนอแนวความคิดเรื่อง “สภาโรงงาน” (The Factory Council) ของอันโตนิโอ กรัมชี โดยมีคําถามหลักของการศึกษาวา แนวความคิดเรื่องสภาโรงงานของอันโตนิโอ กรัมชีนั้นคืออะไร มีสาระสําคัญเชนไร และการทําความเขาใจแนวคิดเรื่องสภาโรงงานของกรัมชีนั้นมีคุณูปการอยางไรบาง

สภาโรงงานเปนรูปแบบของการจัดความสัมพันธรูปแบบใหมของชนชั้นกรรมาชีพอันประกอบไปดวยคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมและผูคนจากหลากหลายอาชีพ (ที่ไมใชชนชั้นนายทุน) โดยมีความแตกตางจากองคกรที่มีอยูกอนคือสหภาพแรงงาน (Trade Union) หลายประการ (ดูการนําเสนอในหัวขอที่ 4) แตจุดแตกตางที่สําคัญที่สุดคือสภาโรงงานนั้นตอตานระบบทุนนิยมและชนชั้นนายทุนแตสหภาพแรงงานนั้น

1บทความเพื่อนําเสนอในท่ีประชุมวิชาการรัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตรแหงชาติ คร้ังท่ี 10 พ.ศ. 2552

บทความน้ีเปนสวนหน่ึงของโครงการวิจัยท่ีอยูระหวางการดําเนินการเร่ือง “สภาโรงงาน: อันโตนิโอ กรัมชี กับแนวความคิดสังคมนิยม” (ทุนสนับสนุนการวิจัยโดย คณะสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร)

2 อาจารยประจําสาขาวิชารัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตร คณะสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร http://twitter.com/watcharabon

Page 2: อันโตนิโอ กรัมชี่กับแนวความคิดสภาโรงงาน

2

เพียงแตตอรองในประเด็นเรื่องคาแรงและสวัสดิการแตยังคงสามารถประนีประนอมกับระบบทุนนิยมได นอกจากนี้อาจกลาวไดวาสภาโรงงานนั้นเปรียบไดกับการเปนนิวเคลียส หรือหนอออนของระบอบคอมมิวนิสม โดยทําหนาที่ในการผสานในแงของจิตวิญญาณ และความรูของชนชั้นแรงงานเขาดวยกัน แนวความคิดเรื่องสภาโรงงานของกรัมชีมีความมีนัยยะตอการต้ังคําถามถึงพัฒนาการทางการเมืองไทยในสองประเด็นหลักดวยกันคือ การใหความสําคัญตอมนุษยในฐานะผูกําหนดสรางความเปนไปทางประวัติศาสตร และอีกประการหนึ่งคือ สภาโรงงานนั้นเปนบทเรียนตอขบวนการเคลื่อนไหวเพ่ือตอตานระบบทุนนิยม/โลกาภิวัตนในปจจุบันอีกดวย คําสําคัญ อันโตนิโอ กรัมช/ี สภาโรงงาน/ สังคมนิยม Key words Antonio Gramsci/ Factory Council/ Socialism

“หนทางสูการแกปญหาของชีวิตแบบคอมมิวนิสตอยางเปนรูปธรรมคือการมีปฏิบัติการแบบคอมมิวนิสต: การเขารวมกัน การโตแยงกันฉันมิตร

เพ่ือกระตุนและขยายจิตสํานึกของผูคน สรางความเปนเอกภาพและเติมเต็มดวยการมองโลกในแงดีสําหรับการกระทําตางๆ”

อันโตนิโอ กรัมช3ี 1. บทนํา

บทความนี้มีจุดมุงหมายเพื่อนําเสนอแนวความคิดเร่ือง “สภาโรงงาน” (The Factory Council) ของอันโตนิโอ กรัมชี โดยมีคําถามหลักของการศึกษาวา แนวความคิดเร่ืองสภาโรงงานของอันโตนิโอ กรัมชนีั้นคืออะไร มีสาระสําคัญเชนไร และการทําความเขาใจแนวคิดเร่ืองสภาโรงงานของกรัมชีนั้นมีคุณูปการอยางไรบาง

อันโตนิโอ กรัมชี (1891-1937) นักทฤษฎีการเมืองแนวมารกซิสต นักหนังสือพิมพ และนักเคล่ือนไหวทางการเมืองชาวอิตาเลียน เปนบุคคลสําคัญที่มีผูใหความสนใจศึกษาถึงแนวความคิดทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมของเขาอยางกวางขวางในปจจุบัน4

3 Antonio Gramsci, “Worker’s Democracy (21 June 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed.

By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox (Cambridge: Cambridge University Press, 1994), p. 99.

Page 3: อันโตนิโอ กรัมชี่กับแนวความคิดสภาโรงงาน

3

แนวความคิดสําคัญของกรัมชีที่เปนที่รูจักและถูกนํามาศึกษาและประยุกตใชกับการเมืองในระดับตางๆอยางกวางขวางคือแนวคิดเร่ืองการครองอํานาจนํา (Hegemony)5 ซึ่งมีบทบาทสําคัญทั้งในวงการวิชาการรัฐศาสตร6 เศรษฐกิจการเมือง สังคมวิทยา วัฒนธรรมศึกษา ภาษาศาสตรและส่ือสารมวลชน เปนตน7 แนวความคิดดังกลาวไดถูกนํามาใชอยางแพรหลายในปจจุบัน แตความแพรหลาย และความนิยมในการใชกรอบแนวความคิดของกรัมชีเพื่อศึกษาการเมืองนั้นคงยังคงเปนที่นิยมอยางมากในระดับสากลเทานั้น แตในวงวิชาการภาษาไทยนั้นยังมีงานศึกษาที่เลือกใชความคิดของกรัมชีอยูอยางจํากัด8 โดยเฉพาะอยางยิ่งงานศึกษาในเชิงทฤษฎีและแนวความคิดของกรัมชีในชวงกอนที่เขาจะถูกคุมขัง (Pre-prison context)9

กรัมชีในบริบทการเมืองอิตาลีในชวงกอนการเปนนักโทษการเมืองในสมัยการปกครองแบบเผด็จการฟาสซิสมของเบนิโต มุสโสลิน ีนั้นมีบทบาทอยางสําคัญในการนําเสนอแงมุมเชิงทฤษฎีและแนวความคิดของตนผานทางหนังสือพิมพหัวกาวหนาของอิตาลีในขณะนั้นที่ชื่อ L’Ordine Nuovo (ออดิเน นูโอโว) หรือ New Order (ระเบียบใหม)

ที่ L’Ordine Nuovo นี้เองกรัมชีไดนําเสนอแนวคิดและทฤษฎีที่สําคัญหลายประการ10 แตจุดเนนหลักในการวิจัยคร้ังนี้นั้นจะใหความสนใจในการศึกษาไปยังทฤษฎีชื่อวา “สภาโรงงาน” (The Factory Council) ที่ซึ่งกอใหเกิดผลในทางปฏิบัติจริงในโรงงานอุตสาหกรรมจํานวนมากในเมืองตูริน (Turin) กลาวคือเกิดการกอตั้งสภาโรงงานที่ซึ่งเปนองคกรประชาธิปไตยแทจริงในทัศนะของกรัมชี

4 ในวงวิชาการสากลการศึกษาความคิดของกรัมชีไดรับความนิยมมาก ดังเห็นไดจากการเผยแพรผลงานของกรัมชี รวมถึงบทความ และบทความวิจัยท่ีใชความคิดของกรัมชีเปนกรอบในการอธิบาย และการรวมตัวกันจัดสัมมนาเปนประจําของ International Gramsci Society ดู www.internationalgramscisociety.org และ www.marxist.org/archive/gramsci

5 รายละเอียดในภาษาไทยดู งานของวัชรพล พุทธรักษา (2550, 2551) และวนัส ปยะกุลชัยเดช (2549, 2550) 6 ท้ังในดานการศึกษาการเมืองภายใน (Domestic politics) ในแงของการนําไปใชศึกษาการครองอํานาจนําของ

กลุม/ชนชั้นตางๆในสังคม และในบริบทการเมืองระหวางประเทศ เชน การรักษาเสถียรภาพของอํานาจนํา (Hegemonic stability) และการครองอํานาจในเชิงอุดมการณ และความคิดของชาติมหาอํานาจ องคการระหวางประเทศ หรือบรรษัทขามชาติตางๆ เปนตน ในแงของการศึกษาการเมืองระหวางประเทศดวยกรอบแนวคิดเชิงวิพากษของกรัมชี โปรดดูงานของ Adam David Morton (2007) และ Andreas Bieler and Adam David Morton (2001, 2003)

7 ท่ีนาสนใจเชนงานท่ีศึกษาความคิดของกรัมชีกับภาษาศาสตร เชน งานของ Peter Ives (2005) ความคิดของกรัมชีกับโลกาภิวัตน เชน William Robinson (2005) โลกาภิวัตนและทุนนิยม เชน Mark Rupert (2005) เปนตน

8 งานภาษาไทยท่ีสําคัญท่ีไดศึกษาความคิดของกรัมชีในยุคแรกคืองานของ สุรพงษ ชัยนาม (2525) นฤมล-ประทีป นครชัย (2527) และเจอโรม คาราเบล (2525) เปนตน ในยุคหลังงานท่ีใชกรอบแนวคิดของกรัมชี เชนงานของ ประจักษ กองกีรติ (2548) ชนิดา ชิตบัณฑิต (2550) วนัส ปยะกุลชัยเดช (2548) และวัชรพล พุทธรักษา (2549, 2550, 2551)

9 งานและความคิดของกรัมชีจําแนกไดเปนสองชวงใหญคือ ชวงแรก ผลงานในชวงกอนถูกคุมขัง (Pre-prison writings) ระหวางป 1919-1926 และ ชวงท่ีสอง คือ ผลงานท่ีผลิตข้ึนจากชวงท่ีถูกคุมขังในคุก จากการเปนนักโทษการเมืองในสมัยการเรืองอํานาจของมุสโสลินี ผลงานของกรัมชีในชวงน้ีอยูระหวางป 1926-1937

10 เชน ขอคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดของมารกซ แนวความคิดเกี่ยวกับสังคมนิยมและการตอตานลัทธิฟาสซิสมเปนตน

Page 4: อันโตนิโอ กรัมชี่กับแนวความคิดสภาโรงงาน

4

ในชวงระหวางป 1919-1920 (ที่รูจักกันในนามวา Two Red Years11) ซึ่งในบริบทการเมืองและสังคมอิตาลีขณะนั้นถือไดวา “หนอออน” (Nucleus) ของระบบสังคมนิยม (Socialism)12 นั้นเกิดข้ึนจริงไดในทางปฏิบัติ

ความสําคัญของการวิจัยในคร้ังนี้คือ เปนการศึกษาทฤษฎี/แนวคิดสภาโรงงานของกรัมชีในเชิงลึก ซึ่งเปนการนําเสนองานวิจัยเชิงทฤษฎีการเมืองในแงมุมที่ยังไมมีการนํามาศึกษาและถูกนําเสนอในโลกวิชาการรัฐศาสตรของไทยแตอยางใด

1.1 คําถามหลักของงานวิจัย - แนวความคิดเร่ืองสภาโรงงานของอันโตนิโอ กรัมชีคืออะไร และมีสาระสําคัญเชนไร

- การทําความเขาใจแนวคิดเร่ืองสภาโรงงานของกรัมชีนั้นมีคุณูปการอยางไรบาง 1.2 ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) งานวิจัยนี้เปนงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ที่มุงเนนการตีความและวิเคราะห

(Interpretative analysis) แนวความคิดเร่ือง “สภาโรงงาน” (Factory Council) ของอันโตนิโอ กรัมชี โดยใชระเบียบวิธีหลักในการไดมาซึ่งขอมูลในการวิจัยโดยการเก็บขอมูลและวิเคราะหจากเอกสาร/ตํารา/บทความที่เกี่ยวของ (Content Analysis)13 ซึ่งการไดมาของขอมูลในสวนแรกเร่ิมตนจากการศึกษาเอกสารชั้นตน (Primary Sources) ไดแก งานเขียนของกรัมชี ในชวงกอนถูกคุมขังระหวางป 1919-1920 ซึ่งปรากฏเปนขอเขียนในหนังสือพิมพ L’Ordine Nuovo (New Order)

นอกจากนี้งานวิจัยนี้ใชขอมูลจากเอกสารชั้นรอง (Secondary Sources) มาเปนสวนเสริมประกอบการวิเคราะหและตอบคําถามหลักของงานวิจัยจากขอมูลหลายแหลงดวยกันไดแก ตําราภาษาอังกฤษ และบทความในหนังสือ และวารสารภาษาอังกฤษที่สามารถสืบคนไดจากฐานขอมูลออนไลนที่สําคัญ อาทิ JSTOR และ Social Science Index (SocIndex) รวมถึงแหลงขอมูลจากอินเทอรเน็ตที่สําคัญ เชนขอมูลจากเว็บไซต International Gramsci Society14 และ Gramsci’s Archive15 เปนตน

11 หรือในภาษาอิตาลี “Biennio Rosso” ซึ่งในชวงระหวางป 1919-1920 น้ันไดเกิดการรวมตัวกันจัดตั้งสภาโรงงาน

ข้ึนอยางกวางขวางในประเทศอิตาลี โดยเฉพาะอยางยิ่งในเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญอยางตูริน (Turin) ดู Adam David Morton, Unraveling Gramsci, (London: Pluto Press, 2007), p. 77. และ Dante Germino, Antonio Gramsci Architect of a New Politics, (Louisiana: Louisiana State University Press, 1990), p. 94.

12 ดู Carl Boggs, Gramsci’s Marxism, (London: Pluto Press, 1976), p.94. 13 ดู Earl Babbie, The Basic of Social Research, (Canada: Thomson Wadsworth, 2008), p. 350. 14 http://www.internationalgramscisociety.org/ [accessed; 5 September 2009] 15 http://www.victoryiscertain.com/gramsci/ [accessed; 5 September 2009]

Page 5: อันโตนิโอ กรัมชี่กับแนวความคิดสภาโรงงาน

5

สวนตอจากนี้จะเปนการนําเสนอนิยาม (Definition) ของสภาโรงงานวามีความหมาย รวมถึงมีลักษณะที่สําคัญเชนไร

2. สภาโรงงานคืออะไร ?

สภาโรงงาน (Factory Council16) คือ ลักษณะของการจัดองคกรรูปแบบใหมของชนชั้นแรงงานที่ประกอบไปดวยชนชั้นแรงงานจากโรงงานอุตสาหกรรมตางๆ ซึ่งการจัดรูปแบบองคกรของสภาโรรงานนั้นจะแตกตางออกไปจากสหภาพแรงงาน (Trade Union) ทั้งในแงของการจัดองคกร เปาหมาย วิธิคิด และจิตวิญญาณของชนชั้นแรงงาน ทั้งนี้เปาหมายสุดทายของสภาโรงงานอยูที่การนําไปสูการสรางสังคมคอมมิวนิสตที่แทจริงได

แนวความคิดเร่ืองสภาโรงงานนี้เกิดข้ึนจากความคิดของกรัมชี โดยการนําเสนอผานชองทางหนังสือพิมพ L’Ordine Nuovo (New Order)17 ในประเทศอิตาลีในชวงระหวางป 1919 – 1920 ซึ่งแนวคิดนี้กรัมชีไดรับแรงบันดาลใจมาจากการปฏิวัติรัสเซียโดยพรรคบอลเชวิกในป 1917 ในฐานะที่เปนการแสดงออกถึงการนําแนวคิดมารกซมาใชใหเกิดผลไดจริงในทางปฏิบัติ18

สําหรับกรัมชีนั้นสภาโรงงานนั้นเปรียบไดกับการเปนตัวแบบ (Model) ของการสรางรัฐของชนชั้นกรรมาชีพ (Worker State)19 ซึ่งเปนรัฐที่อยูภายใตการนําของชนชั้นกรรมาชีพที่แทจริง ปราศจากการกดข่ี ขูดรีดจากชนชั้นนายทุนดังเชนในระบบทุนนิยม ดังนั้นในแงของความสัมพันธทางสังคมของผูคนในสภาโรงงานนั้นจึงมีลักษณะของความเปนสหาย (Comradeship) ที่ชวยเหลือเกื้อกูลกัน20

สภาโรงงานคือ องคกรและพื้นที่ที่จะนําไปสูการพัฒนาในเร่ืองตางๆตอไปนี้ คือ การเสริมสรางความเขมแข็งและเปนผึกแผนระหวางชนชั้นแรงงานดวยกัน (Develop solidarity among worker) เปนองคกรที่เชื่อมโยงระหวางความรัก กับความเปนพี่นอง (Link between comradeship and affection) เปนพื้นที่ซึ่งทุกคนในสภาโรงงานนั้นไดไดรับการยอมรับวามีคุณคา (Everyone is

16 นักวิชาการบางทานเรียก Worker’s Council ดู Leszek Kolakowski, Main Currents of Marxism, (New York:

Norton&Company, 2005), pp. 965-969. 17 ออกฉบับปฐมฤกษในวันท่ี 1 พฤษภาคม 1919 โดยมีคณะบรรณาธิการรวมกับกรัมชีคือ Angelo Tasca,

Umberto Terracini และ Palmairo Togliatti ดู Adam David Morton, Unraveling Gramsci, p.82. 18 Leszek Kolakowski, Main Currents of Marxism, p. 966. 19 Antonio Gramsci, “Union and Council (11 October 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings,

Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox (Cambridge: Cambridge University Press, 1994), p. 118. และดู Richard Howson, “Hegemony in the Preprison context”, in Hegemony: Studies in Consensus and Coercion, Eds. By Richard Howson and Kylie Smith (London: Routledge, 2008), pp. 19-23.

20 Ibid.

Page 6: อันโตนิโอ กรัมชี่กับแนวความคิดสภาโรงงาน

6

indispensable) เปนสถานที่ซึ่งเหมาะสมกับผูคนทุกคน (Everyone is in a proper place) เปนที่ซึ่งผูคนทุกคนมีหนาที่ในการรับผิดชอบในการผลิตดานตางๆ (Everyone has a place for function) นอกจากนี้สภาโรงงานนั้น ยังเปนกลไกที่สําคัญยิ่งในการสรางเสริมการเรียนรูรวมกันระหวางชนชั้นแรงงาน และกระตุนจิตวิญญาณแบบใหมของชนชั้นกรรมาชีพใหเกิดข้ึนอีกดวย21 สภาโรงงานนั้นเปนองคกรที่จะเกิดข้ึนไดภายใตพื้นที่ของความสัมพันธทางการผลิต ในโรงงานอุตสาหกรรม22 ที่ซึ่งชนชั้นแรงงานถูกเอาเปรียบจากความสัมพันธทางการผลิตที่ไมเปนธรรมแบบทุนนิยม23 สาเหตุที่กรัมชีมองวาสภาโรงงานตองเกิดข้ึนภายใตการผลิตในโรงงานนั้นเปนเพราะกรัมชีมองวาในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น กรรมาชีพจะไดรวมกันสรางองคกรที่มีชีวิตชีวาแบบใหมข้ึนมาแทนสหภาพแรงงานที่มุงเนนการเรียกรองเร่ืองการรับประกันในเร่ืองคุณภาพชีวิตแตไมไดตอตานระบบทุนนิยม แตในสภาโรงงานนั้นเปรียบไดกับการเปน “หนอออน” (Nucleus)24 ของรัฐแบบใหม รัฐที่ลมเลิกรูปแบบการเปนตัวแทนแบบเกาในระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่เปนที่รองรับความชอบธรรมของชนชั้นนายทุน และนํารูปแบบการเปนตัวแทนแบบใหมคือแบบสภาโรงงานเขามาใชแทน25 สภาโรงงานสําหรับกรัมชีจึงมีความเห็นสอดคลองกับมารกซ (Karl Marx)26 ในดานเปาหมายสุดทายหรือสังคมในอุดมคติ คือการสรางสังคมคอมมิวนิสม (Communism) ที่เกิดข้ึนจากพลังของชนชั้นกรรมาชีพอยางแทจริง สภาโรงงานเปนหนอออนในการฝกฝนและขัดเกลาชนชั้นแรงงานในการนําไปสูสังคมคอมมิวนิสมที่แทจริง และเปนองคกรที่ทําหนาที่อยางสําคัญยิ่งในการเปนองคกรที่ตอตานระบอบทุนนิยม27 และทําหนาที่ในการเปนตัวการในการสรางจิตสํานึก (Conscious agent)28

21 Ibid. 22 Antonio Gramsci, “The Factory Council (5 June 1920)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed.

By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox (Cambridge: Cambridge University Press, 1994), p. 164. 23 ในระบบทุนนิยมแรงงานถูกลดคุณคาลงเหลือเพียงการเปนเคร่ืองมือในการผลิต (Instrument of Production)

สภาวะเชนน้ี Marx เรียกวา “สภาวะแปลกแยก” (Alienation) ดู Karl Marx, “Economic and Philosophic Manuscripts” in Karl Marx Selected Writings, Ed. By Lawrence H. Simon, (Indianapolis: Hackett Publishing, 1994), pp.58-68.

24 Antonio Gramsci, “The Factory Council (5 June 1920)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, p. 167.

25 Ibid. 26 กรัมชี เห็นสอดคลองกับ Marx ในเร่ืองแรงงานเปนเคร่ืองมือในการผลิตของนายทุน สังคมคอมมิวนิสมคือ

เปาหมาย และการเปนสากลนิยมของชนชั้นกรรมาชีพ ดู Antonio Gramsci, “The Factory Council”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, pp. 166, 167. ; ดู Karl Marx and Friedrich Engels, “The Communist Manifesto” in Karl Marx Selected Writings, Ed. By Lawrence H. Simon, pp. 171, 174. และดู Leszek Kolakowski, Main Currents of Marxism, pp. 226-227.

27 Antonio Gramsci, “The Factory Council (5 June 1920)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, pp. 165, 166.

28 Ibid., p. 167.

Page 7: อันโตนิโอ กรัมชี่กับแนวความคิดสภาโรงงาน

7

ในการปลดปลอยจากการครอบงําของระบบทุนนิยม และเปนตัวเชื่อมผสานทางสังคม (Social cohesion) ทําหนาที่สรางความเปนเอกภาพใหเกิดข้ึนในหมูชนชั้นกรรมาชีพได29

กลาวโดยสรุป สภาโรงงานนั้นคือการจัดรูปแบบองคกรของชนชั้นกรรมาชีพรูปแบบใหมเพื่อนํามาใชแทนรูปแบบการรวมตัวกันแบบสหภาพ (Union) โดยที่สภาโรงงานนั้นเปรียบไดกับการเปนนิวเคลียส หรือหนอออนของระบอบคอมมิวนิสม โดยทําหนาที่ในการผสานในแงของจิตวิญญาณ และความรูของชนชั้นแรงงานเขาดวยกัน โดยมีแนวความคิดหลักในการตอตานระบอบทุนนิยม

หัวขอถัดไปจะเปนการนําเสนอถึงการจัดโครงสรางองคกร (Organization) ของสภาโรงงานตามแนวคิดของกรัมชี เพื่อเปนการใหภาพในรายละเอียดที่มากข้ึนของแนวความคิดสภาโรงงาน

3. สภาโรงงานมีการจัดโครงสรางองคกรอยางไร ? สภาโรงงานตามแนวทางของกรัมชีนั้นเปนองคกรที่เปนประชาธิปไตยที่แทจริงสําหรับชนชั้นแรงงาน ดังที่ปรากฎในบทความชิ้นสําคัญที่ชื่อ “Worker’s Democracy”30 ซึ่งเปนบทความที่กรัมชีเขียนข้ึนรวมกับ Palmairo Togliatti ในงานชิ้นนี้กรัมชีและ Togliatti นําเสนอความคิดเกี่ยวกับลักษณะของการจัดองคกรที่เปนประชาธิปไตยของแรงงานไวดังนี้

“คณะกรรมการในคณะทํางาน (Workshop commission) เปน องคประกอบสําคัญของ “ประชาธิปไตยของแรงงาน” (worker’s democracy) โดยที่แรงงานจะเปนอิสระจากพันธะของเจานายของตน และมีชี วิตและพลังในการดําเนินชี วิตแบบใหม ในขณะปจจุบันคณะทํางานนั้นมีหนาที่ตองควบคุม/สรางขอจํากัดใหกับพลังของนายทุนในโรงงาน โดยทําหนาที่ในการเปนผูสรางขอโตแยง และนําเสนอหลักการของชนชั้น ในอนาคตตองยกระดับและพัฒนาพลังของชนชั้นกรรมาชีพเพื่อนําไปสูการเปล่ียนสังคมนายทุน”31

กรัมชีและ Togliatti มองเชนเดียวกันกับ Marx วาประชาธิปไตยที่แทจริงของชนชั้นแรงงานนั้นจะนําไปสูสังคมสุดทายคือการลมลางชนชั้นนายทุน และสูสังคมคอมมิวนิสตในทายที่สุด กรัมชีนั้นมองในโลกตามขอเท็จจริงวาในขณะปจจุบันที่สังคมทุนนิยมเรืองอํานาจนั้น ชนชั้นแรงงานไมอาจกอ

29 Antonio Gramsci, “Union and Council (11 October 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox (Cambridge: Cambridge University Press, 1994), p. 117.

30 Antonio Gramsci, “Worker’s Democracy (21 June 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, pp.96-100.

31 Ibid, p. 98.

Page 8: อันโตนิโอ กรัมชี่กับแนวความคิดสภาโรงงาน

8

การปฏิวัติไดอยางทันทีทันใด แตจะเปนการปฏิวัติที่ตองอาศัยเวลาและความอดทน32 กรัมชีมองวาในปจจุบันที่การปฏิวัติยังไมบังเกิดนั้นส่ิงที่แรงงานสามารถทําไดในองคกรที่เปนประชาธิปไตยที่แทเชนในสภาโรงงานนั้นก็คือ การสรางขีดจํากัดและแสดงพลังใหนายทุนไดประจักษถึงพลังของชนชั้นกรรมาชีพ และยกระดับการตอสูเพิ่มข้ึนไปในอนาคต ลักษณะการจัดองคกรของสภาโรงงานนั้นกรัมชีและ Togliatti เสนอวา

“คณะทํางาน (Workshop) นั้นจะมีคณะกรรมการภายใน (internal commission) ที่ประกอบจากหลายภาคสวนทั้งสโมสรสังคมนิยม ชุมชนชาวนาซึ่งถือเปนศูนยกลางของชีวิตของกรรมาชีพ”33

“แรงงานตองดําเนินการอยางปจจุบันทันดวนในการการเลือกตั้ง “สมัชชาผูแทน” (Assemblies of delegates) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งจากคนงานผูไดชื่อวามีความตระหนักรูในทางการเมืองมากที่สุด และมีความเปนพี่นองกัน ภายใตแนวทางที่วา “อํานาจทั้งหมดของคณะทํางานสูคณะกรรมการ” ควบคูกันไปกับแนวทาง “อํานาจรัฐเพื่อสภาของแรงงานและชาวนา”34

จากแนวคิดของกรัมชีและ Togliatti จะพบวาแนวคิดเร่ืองสภาโรงงานนั้นไมไดเปนเพียงการรวมตัวกันจัดองคกรของแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมเทานั้น แตเปนองคกรที่มีองคประกอบจากภาคสวนอ่ืนๆในสังคมเชน ชาวนา หรือการรวมตัวเปนสโมสรของคนอาชีพอ่ืนดวย

สภาโรงงานนั้นใชวิธีการเลือกตั้ง (Election) ใหมีสมัชชาผูแทนข้ึนเปนผูแทนของประชาชนทั้งชนชั้น (The whole of the working class)35 ทั้งนี้ภายในสมัชชาผูแทนนั้นจะมีคณะกรรมการผูแทน (Committee of factory delegate) ทําหนาที่เปนตัวแทนในการดูแลในทุกแงมุมของการทํางานและชีวิต36 รวมถึงทําหนาที่ในการพยายามหาทางทํางานรวมกันกับตัวแทนจากภาคสวน (categories)

32 กรัมชี มองวา การปฏิวัติของกรรมาชีพน้ันเปนกระบวนการระยะยาว (Long term process) ดู Antonio

Gramsci, “The Factory Council (5 June 1920)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, p. 163.

33 Antonio Gramsci, “Worker’s Democracy (21 June 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox (Cambridge: Cambridge University Press, 1994), p. 98.

34 Ibid. 35 Ibid. 36 Leszek Kolakowski, Main Currents of Marxism, p. 966.

Page 9: อันโตนิโอ กรัมชี่กับแนวความคิดสภาโรงงาน

9

อ่ืนๆ ทั้งผูที่ประกอบอาชีพบริกร คนขับรถ พนักงานรถราง พนักงานรถไฟ คนกวาดถนน ลูกจางของเอกชน เสมียนในหางราน และอ่ืนๆ37 ในสวนของรายละเอียดในเร่ืองของระบบการเลือกตั้งนั้นกรัมชีเสนอวาสภาโรงงานหนึ่งๆนั้นจะมีตัวแทนคณะทํางานไดจํานวนเทาใดนั้นก็ข้ึนอยูกับความพรอมของแตละทองถิ่นวามีชนชั้นแรงงานทั้งจากโรงงานอุตสาหกรรม และชนชั้นผูไมเปนเจาของปจจัยการผลิต (Have-nots) มาก-นอยและมีความพรอมเพียงใด ทั้งนี้กรัมชีเสนอวาควรใหมีสัดสวนของตัวแทนคณะทํางานในแตละกลุมประเภทอาชีพ (Categories) แตละภาคสวนในสัดสวน “ตัวแทน 1 คนตอคนงาน 15 คน” ดังขอความตอไปนี้

“สโมสรตางๆ โดยความตกลงรวมกับพรรคในเขตเมืองจะตองมีการทําการสํารวจ (survey) พลังของชนชั้นแรงงานในพื้นที่ของตนกอน เพื่อใหกลายมาเปนสภาทองถิ่น (local council) ของตัวแทนคณะทํางาน (workshop delegate)… ระบบการเลือกตั้ง (Electoral System) สามารถผันแปรขนาดของการเลือกตั้งไดตามขนาดของคณะทํางาน โดยมีเปาหมายในการเลือก ตัวแทน (delegate) 1 คน จากคนงาน (workers) 15 คน โดยแบงไปตามกลุมประเภทอาชีพตางๆ”38

องคประกอบที่สําคัญในทฤษฎีสภาโรงงานของกรัมชีคือการใหความสําคัญกับ “มนุษย” ในฐานะที่เปนผูสรางและกําหนดความเปนไปของประวัติศาสตร39 กรัมชีไดเสนอวาบุคคลที่จะเขารวมในสภาโรงงานและเปนผูที่จะนําไปสูการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพนั้นจะตองมีลักษณะ “ปฏิวัติ” (Revolutionary) บางประการดังตอไปนี้40 ประการแรก เปนผูที่ลงมือปฏิบัติ ไมใชผูที่มีแตสํานวนโวหารชวนใหหลงใหล หรือเปนผูมองโลกในแงดีแบบโรแมนติกเพอฝน ประการที่สอง เปนผูที่มีจิตใจมุงม่ันและรับผิดชอบ ประการที่สาม เปนชนชั้นแรงงานผูทํางานในโรงงานและภาคสวนอ่ืน ประการที่ส่ี เปนผูที่มีความสามารถในการจัดการใหเกิดการเชื่อมโยงแลกเปล่ียนระหวางภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมได ประการที่หา เปนผูที่สามารถรับรองในความปลอดภัย ตลอดจนเสรีภาพของผูอ่ืนได

37 Antonio Gramsci, “Worker’s Democracy (21 June 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed.

By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox (Cambridge: Cambridge University Press, 1994), p. 98. 38 Ibid. 39 Antonio Gramsci, “Union and Council (11 October 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings,

Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, p. 119. 40 Antonio Gramsci, “The State and Socialism (28 June – 5 July 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison

Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox (Cambridge: Cambridge University Press, 1994), pp. 101-102.

Page 10: อันโตนิโอ กรัมชี่กับแนวความคิดสภาโรงงาน

10

ประการที่หก เปนผูที่มีสามารถขับเคล่ือนการบริการทางสังคมตางๆไดอยางมีประสิทธิภาพ และ ประการสุดทาย เปนผูที่ปกปองบุคคลอ่ืนไมใหจมสูสภาวะของความส้ินหวังและความรุนแรงได โดยสรุป ในการตอบคําถามที่วา “สภาโรงงาน” นั้นมีการจัดองคกรเชนไร นั้นอางอิงบนพื้นฐานจากงานเขียนของกรัมชีในที่นี้พบวาสภาโรงงานนั้นเปนแนวคิดที่เปดกวาง ไมเพียงแตคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมเทานั้นที่สามารถเขารวมในสภาได แตยังเปดกวางใหกับกลุมคนผูไมไดเปนเจาของปจจัยการผลิตในกลุมอาชีพ/ภาคสวนอ่ืนๆ อาทิ เสมียน คนกวาดถนน คนขับรถไฟ ฯลฯ ไดมีสวนรวมในสภาเพื่อรับรองสิทธิและดูแลในกิจการทุกแงมุมของชีวิตดวย

สภาโรงงานนั้นไดนํากลไกของระบอบประชาธิปไตยแบบผูแทน ( Representative Democracy) ในเร่ืองการเลือกตั้ง (Election) มาใช แตทั้งนี้กรัมชีเสนอวาควรเปนการเลือกตั้งโดยเปดโอกาสใหคนในทุกกลุมอาชีพโดยมีสัดสวนตัวแทน 1 คนตอแรงงาน 15 คน และใหมีตัวแทนจากทุกๆกลุมอาชีพดวย ทั้งนี้จะพบวาแนวคิดในเร่ืองของการจัดองคกรในงานเขียนของกรัมชีใน L’Ordine Nuovo ชวงป 1919-1920 นั้นเปนเพียงการใหภาพในหลักการกวางๆของกรัมชีเทานั้นแตมิไดเปนการอธิบายหลักการทํางาน หรือกฎ ระเบียบอยางลึกซึ้งของสภาโรงงานแตประการใด

4. สหภาพแรงงาน (The Union) กับสภาโรงงาน (The Council) น้ันมีความเหมือนหรือแตกตางกันอยางไร? ชนชั้นแรงงานมิไดปราศจากการรวมตัวกันเปนองคกรเพื่อพิทักษ ตลอดจนดูแลแรงงานในประเด็นดานสิทธิของการไดรับการปฏิบัติจากนายจางที่เปนธรรม หรือการเรียกรองคาแรงที่เหมาะสม “สหภาพแรงงาน” (Union) คือองคกรที่ทําหนาที่ดังที่กลาวมา แตทั้งนี้สําหรับกรัมชีนั้นมองวา องคกรอยางสหภาพแรงงานนั้นไมใชองคกรปฏิวัติ41ที่จะนําพาชนชั้นแรงงานไปสูการปฏิวัติชนชั้นนายทุนและสถาปนารัฐสังคมนิยมซึ่งเปนประชาธิปไตยที่แทจริงได กรัมชีมองวา “สภาโรงงาน” เทานั้นที่จะทําหนาที่เปน “หนอออน” (Nucleus) หรือเปนรากฐานที่สําคัญในการนําพาชนชั้นกรรมาชีพไปสูการปฏิวัติของชนชั้นแรงงานที่แทจริงได ในที่นี้ผูเขียนไดนําเสนอขอเปรียบเทียบระหวางสหภาพแรงงานที่มีอยูเดิมในสังคมทุนนิยมกับสภาโรงงานตามแนวคิดของกรัมชีในตารางตอไปนี้

41 Antonio Gramsci, “The Factory Council (5 June 1920)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed.

By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, p. 164. และ Antonio Gramsci, “Trade Unions and the Dictatorship of the Proletariat (25 October 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, p. 123.

Page 11: อันโตนิโอ กรัมชี่กับแนวความคิดสภาโรงงาน

11

ตารางท่ี 1: นําเสนอขอแตกตางระหวางสหภาพแรงงานกับสภาโรงงาน

ที่มา: สรุปและตีความความคิดของกรัมชีโดยผูเขียน จากตารางขางตนผูเขียนนําเสนอการสรุปขอเปรียบเทียบความแตกตางระหวางสหภาพแรงงานและสภาโรงงานไดเปนหาประเด็นหลักดวยกัน ไดแก ประการแรก ขอเปรียบเทียบในดานเปาหมาย ประการที่สอง ดานผูคนที่เขารวม ประการที่สาม ความสัมพันธในองคกร ประการที่ส่ี ผูไดประโยชนแทจริง และประการสุดทาย ดานความเปนประชาธิปไตย ประการแรก ดานเปาหมาย สหภาพแรงงานนั้นเปนองคกรที่มาจากการรวมตัวของชนชั้นแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจเอกชนตางๆเพื่อสรางความเขมแข็งและเพิ่มอํานาจในการตอรองใหกับสหภาพในประเด็นเรียกรองตางๆ ซึ่งสวนมากแลวจะเปนการเรียกรองในเร่ืองของการรับรอง/รับประกันในเร่ืองของคาแรง ชั่วโมงทํางาน และสวัสดิการของแรงงานในดานตางๆ สหภาพนั้นมิไดมีเปาหมายของการรวมตัวกัน

ประเด็นเปรียบเทียบ สหภาพแรงงาน/The Union สภาโรงงาน/The Council เปาหมาย - เรียกรองสิทธิของแรงงาน

- เรียกรองคาแรง - มิไดมีเปาหมายจะปฏิวัติ

ระบบทุนนิยม - ยังอยูในสังคมทุนนิยมได

- ตอตานระบบทุนนิยม - เปาหมายคือการปฏิวัติ

ระบบทุนนิยม - เปาหมายคือสังคม

คอมมิวนิสต ผูคนท่ีเขารวม - คนงานในโรงงาน/บริษัทเปน

หลัก - ฐานการสนับสนุนกวางกวา จาก

หลากหลายอาชีพ ความสัมพันธในองคกร - ตัวแบบท่ีเปนทางการ

มีสายการบังคับบัญชา - ส่ังการแบบ Top-Down - เปนองคกรท่ีเขารวมเพ่ือ

รักษาผลประโยชนสวนตน

- เนนความเปนมิตร ปรึกษาหารือกัน

- เปนความสัมพันธในแนวระนาบ และ Bottom-Up

- เปนท่ีใหความรูทางการเมือง และสรางจิตสํานึกประชาธิปไตย

ผูท่ีไดประโยชนแทจริง - เจาของกิจการ/ชนชั้นนายทุน

- ผูผลิต/คนงาน/ชนชั้นกรรมาชีพ

ความเปนประชาธิปไตย - เปนเสรีนิยมประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

- เปนประชาธิปไตยของแรงงานอยางแทจริง

Page 12: อันโตนิโอ กรัมชี่กับแนวความคิดสภาโรงงาน

12

เพื่อที่จะตอตานระบบทุนนิยม42 หรือเปล่ียนแปลงการปกครองไปสูระบอบใหมแตประการใด สหภาพนั้นเพียงแตตอรอง/ทาทาย ชนชั้นนายทุน แตยังสามารถประนีประนอมกับระบบทุนนิยมได43 ขณะที่สภาโรงงานนั้น กรัมชีใหแนวคิดวาสภาโรงงานนั้นเปนองคกรปฏิวัติที่มีเปาหมายสุดทาย (Ultimate ends) อยูที่การตอตานระบบทุนนิยมและเปนรากฐาน/หนอออนในการฝกฝนชนชั้นกรรมาชีพในการไปสูการปกครองในสังคมคอมมิวนิสตไดในทายที่สุด ประการที่สอง ดานผูคนที่เขารวม สหภาพแรงงานเปนการเขารวมของชนชั้นกรรมาชีพ หรือผูที่ไมไดถือครองปจจัยการผลิต44ที่มีฐานจากแรงงานในอุตสาหกรรม หรือธุรกิจเอกชนเปนหลัก ขณะที่สภาโรงงานของกรัมชีนั้นแมจะมีชื่อวา Factory Council แตในแงของฐานการเขารวมของผูคนนั้น สภาโรงงานจะมีฐานความรวมมือระหวางชนชั้น45 กวางขวางมากกวาสหภาพแรงงาน กลาวคือสภาโรงงานนั้นมีการเขารวมของผูคนนอกเหนือไปจากแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมแลวยังมีชนชั้นชาวนา (Peasant) 46และรวมถึงตัวแทนจากภาคสวน (Categories) อ่ืนๆอีกดวย เชน ผูที่ประกอบอาชีพบริกร คนขับรถ พนักงานรถราง พนักงานรถไฟ คนกวาดถนน ลูกจางของเอกชน เสมียนในหางราน และอ่ืนๆ47

ประการที่สาม ความสัมพันธในองคกร สหภาพแรงงานเปนองคกรที่ยังคงมีลักษณะการทํางานแบบเปนทางการ (Bureaucratic

Organization) ความสัมพันธระหวางผูคนในสหภาพนั้นมีลักษณะการส่ังการในแนวดิ่ง (Vertical) หรือแบบบนสูลาง (Top-Down) ซึ่งยังมีลักษณะของบังคับ และไมเปดพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นเพื่อใหเกิดการแลกเปล่ียนและเรียนรูไดมากนัก ในทางตรงขามสภาโรงงานนั้นเปนพื้นที่ของความสัมพันธที่เนนความเปนพี่นอง ความเปนสหายที่คอยดูแลในทุกมิติของชีวิต ไมใชเพียงแคเปนองคกรเพื่อรักษาผลประโยชนในทางเศรษฐกิจของผูเขารวมเทานั้น แตยังใหความสําคัญกับการพัฒนาทักษะในการผลิต การทํางาน และใหการเรียนรู ตลอดจนสรางเสริมจิตสํานึกทางการเมืองอยางมีชีวิตชีวาอีกดวย48 ดังนั้นในแงของความสัมพันธขององคกรสภาโรงงานจึงมีลักษณะความสัมพันธแบบ

42 Antonio Gramsci, “Union and Council (11 October 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings,

Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, p. 118. 43 Leszek Kolakowski, Main Currents of Marxism, p. 966. 44 ดู คําอธิบายของ Engel ในสวนเชิงอรรถแรกสุดในสวนท่ี 1 ของ The Communist Manifesto ดู Karl Marx and

Friedrich Engels, “The Communist Manifesto” in Karl Marx Selected Writings, Ed. By Lawrence H. Simon, p. 158. 45 เปน idea ของแนวคิดเร่ืองกลุมประวัติศาสตร (Historical Bloc) ในเวลาตอมา 46 เปน นายทุนนอย (Petty Bourgeois)ตามแนวของ Marx 47 Antonio Gramsci, “Worker’s Democracy (21 June 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed.

By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, p. 98. 48 Leszek Kolakowski, Main Currents of Marxism, p. 966.

Page 13: อันโตนิโอ กรัมชี่กับแนวความคิดสภาโรงงาน

13

ลางสูบน (Bottom-Up) ที่ไมใหความสําคัญกับสายการบังคับบัญชา แตเนนความสัมพันธในแนวระนาบ (Horizontal)มากกวาสหภาพแรงงาน

ประการที่ส่ี ผูไดประโยชนแทจริง ผูที่จะไดผลประโยชนแทจริงจากสหภาพแรงงานนั้นไมใชชนชั้นกรรมาชีพ ในดานหนึ่งแรงงาน

อาจจะได รับการรับรองในเ ร่ืองของสิทธิในการทํางาน รายได และสวัสดิการ แตแทจริงแลวผลประโยชนที่แรงงานจะไดรับนั้นเปนผลจากการประนีประนอมกับนายทุนเทานั้นมิไดเปนการเปล่ียนแปลงที่โครงสรางความสัมพันธหรือระบบการปกครอง ดังนั้นผูที่ไดรับประโยชนที่แทจริงยอมเปนชนชั้นนายทุนผูเปนเจาของแรงงานที่จะไดประโยชนจากผลกําไรสวนเกินที่แรงงานผลิตใหอยางตอเนื่อง ในทางตรงขาม สภาโรงงานนั้นเปนการเขารวมของผูคนที่หลากหลายและเขมแข็งยิ่งกวาสหภาพแรงงาน อีกทั้งเปาหมายหลักของสภาโรงงานนั้นก็คือการตอตานระบบทุนนิยม และไมประนีประนอมกับชนชั้นนายทุน ดังนั้นผลประโยชนอันเกิดจากการเขารวมในสภาโรงงานจึงตกแกชนชั้นแรงงานเองอยางแทจริง

ประการสุดทาย ดานความเปนประชาธิปไตย ประชาธิปไตยของสหภาพแรงงานนั้นเปรียบไดกับการเปนภาพจําลองของระบบเสรีนิยม

ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (Liberal Democratic Parliamentary System) ที่ผูแทนนั้นเปนกลไกในการรักษาผลประโยชนใหแกชนชั้นปกครอง ซึ่งก็คือชนชั้นนายทุน แตมวลชนก็ยังคงถูกกดข่ีและไมไดมีเสรีภาพและความเสมอภาคอยางแทจริง ขณะที่สภาโรงงานนั้นเปนองคกรที่เปนประชาธิปไตยของแรงงาน (Worker’s Democracy) อยางแทจริงเนื่องจากแรงงาน (รวมถึงคนจากภาคสวนอ่ืนดวย) นั้นไดมความเสมอภาค เสรีภาพ ศักดิ์ศรีและการยอมรับในคุณคาความเปนมนุษยมากกวาการใหความสําคัญกับการเลือกตั้งผูแทนซึ่งกลายเปนสวนสําคัญในการรับใชชนชั้นนายทุน

สวนตอจากนี้จะเปนการนําเสนอถึงคุณุปการของทฤษฎีสภาโรงงานของกรัมชีในแงมุมตางๆรวมถึงสวนสุดทายซึ่งเปนสวนสรุปความคิดทั้งหมดของงานเขียนชิ้นนี ้

5. คุณูปการของทฤษฎีสภาโรงงาน แนวความคิดเร่ืองสภาโรงงานของกรัมชีนั้นมีความสําคญัในหลายแงมุมดวยกันในที่นี้ผูเขียนสรุปคุณูปการของแนวคิดดังกลาวของกรัมชีไดเปนสองดาน ไดแก ดานทฤษฎีและแนวความคิด และนัยยะตอการพัฒนาการเมืองไทย

Page 14: อันโตนิโอ กรัมชี่กับแนวความคิดสภาโรงงาน

14

5.1 คุณูปการเชิงทฤษฎีและแนวความคิด ความคิดทางการเมืองของอันโตนิโอ กรัมชีในเร่ืองสภาโรงงานนั้นเปนการอธิบาย ให

รายละเอียดเพิ่มเติมและพัฒนาแนวความคิดมารกซิสม (Marxism) ใหไปสูการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพอยางแทจริงได49 ความคิดของกรัมชีในเร่ืองสภาโรงงานนั้นเปนการเปดพื้นที่ในเร่ืองของ “การเมืองแบบใหม” (New Politics)50 ที่เปดพรมแดนของการมีสวนรวมทางการเมืองใหกวางขวางออกไปมากกวาการเปนเพียงการมีสวนรวมของผูม่ังมีทั้งอํานาจและเงินตรา แตเปนการมีสวนรวม “อยางแทจริง” ของผูคนในชนชั้นลางของสังคม

แนวคิดเร่ืองสภาโรงงานเปนแนวคิดที่ใหความสําคัญตอ “มนุษย” ในฐานะที่เปนผูกําหนดชะตาชีวิต/ชะตามกรรมของตนเองและเปนผูกําหนดสรางความเปนไปของประวัติศาสตรมนุษย51 การใหความสําคัญตอมนุษยในที่นี้สอดคลองกับความเห็นของ Marx ที่มองวาระบบทุนนิยมนั้นทําใหมนุษยเกิดความแปลกแยก (Alienation) ระหวางมนุษยกับสินคาที่ผลิต มนุษยกับเงินตราและแมแตมนุษยตอมนุษยดวยกันเอง52ก็สูญเสียความสัมพันธทางสังคมที่ดีระหวางกันไป

ความคิดของกรัมชีเปนการใหภาพปรัชญาของการลงมือปฏิบัติ53 (Philosophy of Praxis) ซึ่งเปนแนวคิดหลักของกรัมชีในการตอตานแนวทางกําหนดนิยมแบบกลไก (Determinism) และพวกที่ยึดม่ันในหลักเศรษฐกิจกําหนด (Economic Determinism) ที่เชื่อวาการเปล่ียนแปลงของสรรพส่ิงนั้นเปนผลของการเปล่ียนแปลงจากขอกําหนดเชิงโครงสรางโดยอัตโนมัติ54

ดังนั้นความคิดเร่ืองสภาโรงงานของกรัมชีเปนจึงขอบงชี้ที่ดีวาสําหรับกรัมชีนั้นการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพเพื่อไปใหถึงสังคมคอมมิวนิสตนั้นไมใชส่ิงที่จะเกิดข้ึนไดเองโดยรอใหกรรมาชีพปฏิวัติ

49 Paul Ransome, Antonio Gramsci A New Introduction, (London: Harvester Wheatsheaf, 1992), p.208. 50 Carl Boggs, Gramsci’s Marxism, (London: Pluto Press, 1976), pp.85-100. และ Anne Showstack

Sassoon, Gramsci’s Politics, (London: Croom Helm, 1980), pp.31-57. 51 Antonio Gramsci, “Union and Council (11 October 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings,

Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, p. 119. 52 Karl Marx, “Economic and Philosophic Manuscripts” in Karl Marx Selected Writings, Ed. By Lawrence

H. Simon, pp.58-68. 53 ในเวลาตอมาแนวคิดเร่ืองสภาโรงงานไดเปนแนวทางในการนําไปสูการจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสตอิตาลี (Italian

Communist Party; PCI) แตท้ังน้ีประเด็นขอถกเถียงเกี่ยวกับเร่ืองของ PCI น้ันเปนประเด็นใหญท่ีอยูนอกเหนือขอบเขตการนําเสนอของบทความชิ้นน้ี

54 นักมารกซิสตบางคนมีความคิดเชนน้ี เชน Karl Kautsky และ Eduard Bernstein เปนตน ซึ่งไดชื่อวาเปน Right Wing Marxism ดู David McLellan, Marxism after Marx, (New York: Harper&Row, 1979), pp. 58-61. และ Jules Townshend, “Right-wing Marxism”, in Twentieth-Century Marxism A Global Introduction, Eds. By Daryl Glaser and David M. Walker, (New York: Routledge, 2007), pp. 48-52.

Page 15: อันโตนิโอ กรัมชี่กับแนวความคิดสภาโรงงาน

15

นายทุนเสียเอง หากแตเปนการลงมือกระทําของผูคนในปจจุบันขณะเพื่อกําหนดความเปนไปของมนุษยในอนาคตดวยน้ํามือของตนเอง ดังที่ไดนําเสนอไปขางตนวาสภาโรงงานนั้นเปรียบดัง “หนอออน” ของสังคมคอมมิวนิสตอันเกิดจากการลงมือปฏิบัติของแรงงาน (และคนจากภาคสวนอ่ืนดวย) นั่นเอง

นอกจากนี้สภาโรงงานยังเปนการแสดงให เห็นถึงรองรอยของความคิดเ ร่ือง “กลุมประวัติศาสตร” (Historic Bloc) และ “การครองอํานาจนํา” (Hegemony)55 ที่ปรากฎข้ึนภายหลังจากที่กรัมชีถูกคุมขังแลวหลังป 1926 กลาวคือ แนวคิดเร่ืองกลุมประวัติศาสตรนั้นเปนแนวคิดที่วาดวยการผสานแนวรวมระหวางชนชั้น กลุม สังคมตางๆใหเกิดความเห็นพองตองกันในชวงขณะเวลาหนึ่งๆในชวงประวัติศาสตร ซึ่งกลุมประวัติศาสตรนั้นถือเปนแนวคิดองคประกอบที่สําคัญอยางยิ่งในการสรางภาวะการครองอํานาจนําใหเกิดข้ึนโดยชนชั้นผูสรางการครองอํานาจนําเหนือชนชั้นอ่ืนในสังคม

ความคิดเร่ืองสภาโรงงานเปนการแสดงใหเห็นถึงแนวทางการคิดในเร่ืองของการสราง “พันธมิตรระหวางชนชั้น” (Class alliances) ใหเกิดข้ึนดังเห็นไดจากการใหผูคนที่มีที่มาจากหลากหลายภาคสวนและอาชีพไดเขารวมในสภาโรงงาน มิใชเปนเพียงการผนึกกําลังของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมเทานั้น แตยังสามารถผสานแนวรวม รวมถึงไดสรางการเรียนรูและแลกเปล่ียนในเร่ืองของประสบการณและแนวทางในการตอสูจากผูคนในกลุมอาชีพอ่ืนๆไดอีกดวย

5.2 ทฤษฎีสภาโรงงาน: นัยยะและความสําคัญตอการเมืองไทย

การศึกษาแนวความคิดเร่ือง “สภาโรงงาน” ของอันโตนิโอ กรัมชีนั้นมีประโยชนตอการทําความเขาใจ ตลอดจนการพัฒนาการเมืองไทยอยางไร? ตอการตอบคําถามดังกลาว ผูเขียนไดนําเสนอนัยยะและความสําคัญของแนวคิดดังกลาวไดเปนสองประการดังนี้ ประการแรก แนวคิดเร่ืองสภาโรงงานใหแงคิดในเร่ืองของบทบาทและความสําคัญของมนุษย ดังนั้นแงคิดดังกลาวจึงมีความสําคัญและควรคาแกการนํามาคํานึงถึงบทบาทของ “มนุษย” ในทางการเมืองของสังคมไทย สังคมไทยแมจะไดชื่อวามีการปกครองรูปแบบทีเ่รียกวาประชาธิปไตยแตทั้งนี้ก็เปนที่ทราบกันโดยทั่วไปวาเนื้อแทของประชาธิปไตยไทยนั้นเปนเสรีนิยมประชาธิปไตย (Liberal Democracy) ซึ่งเปนรูปแบบหนึ่งของประชาธิปไตยแบบมีผูแทน (Representative Democracy) อันเปนรูปแบบการปกครองหนึ่งของระบบประชาธิปไตยของประเทศสวนใหญ ซึ่งรูปแบบการปกครองดังกลาวนั้นให

55 ดู Richard Howson, “Hegemony in the Preprison context”, in Hegemony: Studies in Consensus and

Coercion, Eds. By Richard Howson and Kylie Smith, pp. 17-31.; Steve Jones, Antonio Gramsci, (London: Routledge, 2007),pp.41-57 และ Anne Showstack Sassoon, Gramsci’s Politics, pp.119-124.

Page 16: อันโตนิโอ กรัมชี่กับแนวความคิดสภาโรงงาน

16

ความสําคัญตอการแขงขันอยางเสรีตอการไดมาซึ่งการไดอํานาจบริหาร และสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาล และการเปนผูแทนของประชาชน

ทั้งนี้แมรัฐไทยจะเร่ิมมีการตื่นตัวในการกระจายอํานาจการปกครองสูทองถิ่น (Centralization) นับแตปพ.ศ. 2542 เปนตนมา ซึ่งสงผลใหแนวคิดเร่ืองการมีสวนรวมในทางการเมืองของประชาชนมีระดับการตื่นตัวและความสนใจทางการเมืองเพิ่มมากข้ึน แตมิติสําคัญของการใหความสําคัญตอ “มนุษย” ในสังคมและการเมืองนั้นปฏิเสธไดยากวายังคงมิไดเปนประเด็นหลักของสังคมไทยมากไปกวาประเด็นเร่ืองการเลือกตั้งทองถิ่นในระดับตางๆหรือการนอมนําแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกตใช

ความคิดเร่ืองความสําคัญของมนุษยในฐานะผูกําหนดสรางความเปนไปทางประวัติศาสตรไมไดเปนส่ิงสําคัญในการรับรูของประชาชนไทย ดังนั้นจากการศึกษาแนวคิดเร่ืองสภาโรงงาน คุณูปการแรกและเปนประโยชนข้ันต่ําที่สุดที่มีตอการเมืองไทย คือการไดตระหนักและทบทวนวารัฐ เอกชน ประชาสังคม และประชาชนไทยในปจจุบันนั้นไดใหความสําคัญตอบทบาทของ “มนุษย” ในการมีสวนรวมกําหนดทิศทางและความเปนไปของสังคมไดอยางแทจริงและมีศักดิ์ศรีเทาเทียมกันหรือไม และเพียงใด อีกประการหนึ่ง แนวความคิดสภาโรงงานไดใหขอคิดที่สําคัญในการทาทายและตอสูตอการปกครองในระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาภายใตอุดมการณเสรีนิยม รวมถึงอุดมการณเศรษฐกิจแบบทุนนิยม/เสรีนิยมใหมที่มุงแสวงหากําไรสูงสุด

จากสภาพการณของสังคมไทยปจจุบันซึ่งสังคมไทยนั้นอาศัยรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยรัฐสภา (Parliamentary Democracy) และอิทธิพลของอุดมการณเสรีนิยมใหม (Neo-Liberalism) ที่เชื่อวาการเปดเสรีทางการคา การลงทุนโดยตรงจากตางชาติ การโอนภารกิจใหเอกชนทําแทนรัฐ ฯลฯ และการเชื่อม่ันในระบบตลาดเสรีวาจะเปนการนําพาความม่ังคั่งมาสูประเทศ แตขอเท็จจริงคือประชาธิปไตยแบบรัฐสภาไดนํามาสูการเกิดข้ึนของชนชั้นนําผูอางสิทธิการเปนตัวแทนของประชาชน และอุดมการณเศรษฐกิจเสรีนิยมใหมนั้นก็นํามาสูการลมสลายของผูประกอบการรายยอยที่ไดรับผลกระทบจากการทําขอตกลงการคาเสรี (Free Trade Agreement; FTA) โดยขาดความรอบคอบและความเห็นพองจากประชาชน นอกจากนี้เสรีนิยมใหมยังนํามาสูปญหาความเหล่ือมลํ้าทางสังคมและเศรษฐกิจ และปญหาสังคมอ่ืนๆ เชน ปญหาเร่ืองธุรกิจการศึกษา เปนตน สภาโรงงานนับเปนรูปแบบของการตอสูในยุคแรกๆของความพยายามในการตอสูและตอตานระบบทุนนิยม (Anti-Capitalism) และชนชั้นนายทุน56ที่มีความชัดเจนและเปนรูปธรรมอยางยิ่ง แนวความคิดดังกลาวใหแงคิดในการลงมือ “ปฏิบัติ” และทาทายตออํานาจที่เหนือกวาโดยไมหว่ันเกรง

56 Antonio Gramsci, “Two Revolutions (3 July 1920)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, p. 168.

Page 17: อันโตนิโอ กรัมชี่กับแนวความคิดสภาโรงงาน

17

ตอผลที่อาจจะเกิดข้ึนแตประการใด ดังนั้นการศึกษาแนวความคิดสภาโรงงานของกรัมชีจึงมีนัยยะตอการตั้งคําถามถึงบทบาทของขบวนการเคล่ือนไหวเพื่อตอตานทุนนิยม/ตอตานโลกาภิวัตน/บรรษัทนิยม ในสังคมไทยไดวามีความพรอมและความกลาที่จะลงมือปฏิบัติเพื่อตอตานการใชอํานาจที่ไมชอบธรรมไดมาก-นอย ประการใด 6. สรุป สภาโรงงานเปนแนวความคิดที่สําคัญอีกเร่ืองหนึ่งของอันโตนิโอ กรัมชี ที่ยังมิไดมีการถูกนํามาศึกษาในแวดวงวิชาการรัฐศาสตรไทยมากนัก แนวคิดดังกลาวเกิดข้ึนในบริบทการเมืองอิตาลีชวงป 1919-1920 งานเขียนของกรัมชีใน L’Ordine Nuovo (The New Order) ถือไดวาเปนงานเขียนชวงกอนถูกคุมขัง (Pre-Prison Writings) ที่สําคัญที่กอใหเกิดการเคล่ือนไหวทางการเมืองเพื่อตอตานระบบทุนนิยมและชนชั้นนายทุนในอิตาลีไดอยางแทจริง สภาโรงงานเปนรูปแบบของการจัดความสัมพันธรูปแบบใหมของชนชั้นกรรมาชีพอันประกอบไปดวยคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมและผูคนจากหลากหลายอาชีพ (ที่ไมใชชนชั้นนายทุน) โดยมีความแตกตางจากองคกรที่มีอยูกอนคือสหภาพแรงงาน (Trade Union) หลายประการ (ดูการนําเสนอในหัวขอที่ 4) แตจุดแตกตางที่สําคัญที่สุดคือสภาโรงงานนั้นตอตานระบบทุนนิยมและชนชั้นนายทุนแตสหภาพแรงงานนั้นเพียงแตตอรองในประเด็นเ ร่ืองคาแรงและสวัสดิการแตยังคงสามารถประนีประนอมกับระบบทุนนิยมได นอกจากนี้อาจกลาวไดวาสภาโรงงานนั้นเปรียบไดกับการเปนนิวเคลียส หรือหนอออนของระบอบคอมมิวนิสม โดยทําหนาที่ในการผสานในแงของจิตวิญญาณ และความรูของชนชั้นแรงงานเขาดวยกัน แนวความคิดเร่ืองสภาโรงงานของกรัมชีมีความมีนัยยะตอการตั้งคําถามถึงพัฒนาการทางการเมืองไทยในสองประเด็นหลักดวยกันคือ การใหความสําคัญตอมนุษยในฐานะผูกําหนดสรางความเปนไปทางประวัติศาสตร และอีกประการหนึ่งคือ สภาโรงงานนั้นเปนบทเรียนตอขบวนการเคล่ือนไหวเพื่อตอตานระบบทุนนิยม/โลกาภิวัตนในปจจุบันอีกดวย

Page 18: อันโตนิโอ กรัมชี่กับแนวความคิดสภาโรงงาน

18

รายการอางอิง

เจอโรม คาราเบล. 2525. ความขัดแยงของการปฏวิัติ อันโตนิโย กรัมชีกับปญหาของปญญาชน. แปลโดย สมบัติ พิศสะอาด. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

ชนิดา ชิตบัณฑิตย. 2547. โครงการอันเนือ่งมาจากพระราชดําริ : การสถาปนาพระราชอํานาจนํา. วิทยานิพนธสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต (มานุษยวิทยา) คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

ประจักษ กองกีรติ. 2548. และแลวความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ การเมืองวัฒนธรรมของนักศึกษาและปญญาชนกอน 14 ตุลาฯ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

จิอูเซ็ปเป ฟโอรี. 2526. ชีวิตของอันโตนิโอ กรัมช.ี แปลโดย นฤมล-ประทีป นครชัย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

วนัส ปยะกุลชัยเดช. 2548. ความสัมพันธระหวางแนวคิดการครองความเปนใหญและอุดมการณของกรัมชี.่ วิทยานิพนธรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครอง คณะรัฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

วัชรพล พุทธรักษา. 2549. รัฐบาลทักษิณกับความพยายามสรางภาวะการครองอํานาจนํา. วิทยานิพนธรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การปกครอง) ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

วัชรพล พุทธรักษา. 2550. แนวความคิดการครองอํานาจนํา (Hegemony) ของกรัมช ี(Gramsci): บททดลองเสนอในการอธิบายปรากฏการณทางการเมืองไทย. บทความนําเสนอในงานประชุมวิชาการรัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตรแหงชาติครั้งที ่8 ณ ศูนยการประชุมนานาชาติไบเทคบางนา 13 ธันวาคม 2550.

วัชรพล พุทธรักษา. 2551. กลุมประวัติศาสตร ปญญาชน การครองอํานาจนํา และการโตตอบตอการครองอํานาจนํา: แนวความคิดของอันโตนิโอ กรัมชีกับการอธิบายการเมืองไทยรวมสมัย. บทความนําเสนอในงานประชุมวิชาการรัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตรแหงชาติครั้งที ่9 ณ คณะรัฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย วันที่ 2 ธันวาคม 2551.

Babbie, E. (2008) The Basic of Social Research, Canada: Thomson Wadsworth. Bieler, A. and Morton, A.D. (2001) “Introduction: neo-Gramscian perspectives in international

political economy and the relevance to European integration” in Bieler, A. and Morton, A.D. eds. Social forces in the making of the new Europe: the restructuring of European social relations in the global political economy, Basingstoke: Palgrave Macmillan, pp. 3-24.

Bieler, A. and Morton, A.D. (2003) “Theoretical and Methodological Challenges of neo-Gramscian Perspectives in International Political Economy” International Gramsci Society Online Article January 2003,

Page 19: อันโตนิโอ กรัมชี่กับแนวความคิดสภาโรงงาน

19

http://www.internationalgramscisociety.org/resources/online_articles/index.html [accessed; 5 September 2009]

Boggs, C. (1976) Gramsci’s Marxism, London: Pluto Press. Germino, D. (1990) Antonio Gramsci Architect of a New Politics, Louisiana: Louisiana State

University Press. Gramsci, A. (1994) “Worker’s Democracy (21 June 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison

Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, Cambridge: Cambridge University Press.

Gramsci, A. (1994) “Union and Council (11 October 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox, Cambridge: Cambridge University Press.

Gramsci, A. (1994) “The State and Socialism (28 June – 5 July 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox , Cambridge: Cambridge University Press.

Gramsci, A. (1994) “Trade Unions and the Dictatorship of the Proletariat (25 October 1919)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox , Cambridge: Cambridge University Press.

Gramsci, A. (1994) “The Factory Council (5 June 1920)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox , Cambridge: Cambridge University Press.

Gramsci, A. (1994) “Two Revolutions (3 July 1920)”, in Antonio Gramsci Pre-Prison Writings, Ed. By Richard Bellamy. Trans. By Virginia Cox , Cambridge: Cambridge University Press.

Howson, R. (2008) “Hegemony in the Preprison context”, in Hegemony: Studies in Consensus and Coercion, Eds. By Howson, R. and Smith, K., London: Routledge.

Ives, P. (2005) “Language, Agency and Hegemony: A Gramscian Response to Post-Marxism” Critical Review of International Social and Political Philosophy, 8(4), pp.455-468.

Jones, S. (2007) Antonio Gramsci, London: Routledge. Kolakowski, L. (2005) Main Currents of Marxism, New York: Norton&Company. Marx, K. (1994) “Economic and Philosophic Manuscripts” in Karl Marx Selected Writings, Ed. By

Lawrence H. Simon, Indianapolis: Hackett Publishing. Marx, K. and Engels, F. (1994) “The Communist Manifesto” in Karl Marx Selected Writings, Ed.

By Lawrence H. Simon, Indianapolis: Hackett Publishing.

Page 20: อันโตนิโอ กรัมชี่กับแนวความคิดสภาโรงงาน

20

McLellan, D. (1979) Marxism after Marx, New York: Harper&Row. Morton, A.D. (2007) Unraveling Gramsci Hegemony and Passive Revolution in the Global

Economy, London: Pluto Press. Ransome, P. (1992) Antonio Gramsci A New Introduction, London: Harvester Wheatsheaf. Robinson, W.I. (2005) “Gramsci and Globalisation: From Nation- State to Transnational

Hegemony” Critical Review of International Social and Political Philosophy, 8(4), pp. 559-574.

Rupert, M. (2005) “Reading Gramsci in an Era of Globalising Capitalism” Critical Review of International Social and Political Philosophy, 8(4), pp. 483-497.

Sassoon, A.S. (1980) Gramsci’s Politics, London: Croom Helm. Townshend, J. (2007) “Right-wing Marxism”, in Twentieth-Century Marxism a Global Introduction,

Eds. By Glaser, D. and Walker, D. M., New York: Routledge. http://www.internationalgramscisociety.org/ [accessed; 5 September 2009] http://www.victoryiscertain.com/gramsci/ [accessed; 5 September 2009] http://www.marxist.org/archive/gramsci [accessed; 5 September 2009]